วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552

คลิบเพลงความทรงจำ

วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552

พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์


พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์


ตั้งอยู่กลางเทือกเขาภูพาน บนเส้นทางหลวงสายสกลนคร-กาฬสินธุ์ เส้นทางหลวงหมายเลข 213 ห่างจากตัวเมืองสกลนคร 13 กิโลเมตร มีทางแยกเข้าไปทางด้านขวามือ ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 2106 เป็นสถานที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ตลอดจนพระราชวงศ์ ในคราวเสด็จแปรพระราชฐานเยี่ยมพสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณสถานที่ตั้งเป็นป่าไม้ร่มรื่น มีไม้ดอกไม้ประดับตกแต่งไว้อย่างสวยงาม ในระหว่างที่ไม่ได้ประทับอยู่ที่พระตำหนักอนุญาตให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมได้ทุกวัน โดยทำหนังสือถึงสำนักเลขาธิการพระราชวัง พระบรมมหาราชวัง ถนนหน้าพระลาน กรุงเทพฯ 10200 และเมื่อได้รับหนังสือตอบรับแล้วจึงจะเดินทางไปชมได้





ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์

สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์
ตั้งอยู่ติดกับหนองหาน บริเวณตำบลธาตุเชิงชุม ในตัวเมืองเป็นสวนสาธารณะที่สวยงาม มีเนื้อที่ประมาณ ๑๒๐ ไร่ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้เสด็จเป็นองค์ประธานพิธีเปิด เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๐ มีลักษณะเป็นสวนล้อมสระน้ำขนาดใหญ่ ชื่อสระพังทอง เป็นสระโบราณ เชื่อกันว่าสร้างมาพร้อมกับการสร้างพระธาตุเชิงชุม ภายในบริเวณสวนประกอบด้วยสวนไม้ดอกไม้ประดับ สวนป่า สวนน้ำ สวนหิน สวนออกกำลังกาย และน้ำพุที่สูงราว ๖๙ เมตร ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาหาความรู้ ด้านพฤกษศาสตร์ได้อีกด้วย สวนแห่งนี้เปิดตั้งแต่เวลา ๐๔.๐๐-๒๑.๐๐ น. นอกจากนั้นยังมี สวนเทิดพระเกียรติ ๖๐ พรรษา มหาราชินี สร้างขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๖๐ พรรษา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นสวนขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนพื้นที่ ประมาณ ๘๐ ไร่ อยู่ที่บ้านหนองบัวใหญ่ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ครอบคลุมพื้นที่ดอนขาม ดอนลังกา ภายในบริเวณประกอบด้วยสวน พฤกษชาติ ศาลาพักร้อน น้ำพุ จุดชมวิว ที่อาศัยของนกนานาชนิด และยังเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวสกลนคร และนักท่องเที่ยวที่ได้ผ่านมายัง อ.เมือง จ.สกลนคร
การเดินทาง ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๓ กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข ๒๒ เส้นทางสายสกลนคร-บ้านธาตุ แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปอีกประมาณ ๒๐๐ เมตร



ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต


พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

ตั้งอยู่ที่วัดป่าสุทธาวาส ถนนสุขเกษม ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร มีลักษณะของอาคาร ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าชั้นเดียว คล้ายแบบบ้านทรงไทยประยุกต์ ก่อด้วยคอนกรีต มีช่องแสงที่ผนังทั้ง 2 ด้าน มีทางเข้าด้านหน้าทางทิศตะวันออกทางเดียว ทางด้านหลังไม่มีทางเข้า หลังคาทำเป็นหลังคาทรงไทยประยุกต์ ผนังด้านหน้าทางเข้าตัวอาคารมีรูปปันนูนสูงดินเผา เป็นภาพเล่าเรื่องธุดงควัตรของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ มีลานรอบ ๆ ตัวอาคารมีทางขึ้นและลงทั้งด้านหน้าทิศตะวันออกและด้านหลังทิศตะวันออก พื้นภายในอาคารเป็นหินอ่อน มีการจัดแสดงเครื่องอัฐบริขารบริเวณผนังด้านทิศใต้และทิศเหนือ ประกอบด้วยเครื่องอัฐบริขารดังนี้
- อัฐบริขาร คือ สบงที่ใช้เป็นผ้านุ่ง จีวร ใช้เป็นผ้าห่ม สังฆาฎิใช้เป็นผ้าห่มกันหนาว และใช้พาดบ่าในโอกาศเข้าพิธีสังฆกรรมต่างๆ บาตรสำหรับใช้ใส่ภัตตหาร มีดโกนสำหรับปลงผม รัดประคตสำหรับคาดเอว หม้อกรองน้ำ
- เครื่องใช้ในการธุดงค์ มีกลด มุ้ง หมอน หนังจัมขันธ์ เป็นต้น- เครื่องใช้ประจำวัน เช่น คนโทน้ำ จอกน้ำ มีด ช้อน ตลับสีผึ้ง
- บริขารเบ็ดเตล็ด เช่น อ่างไม้บดยาและย้อมผ้า สมุนไพร ถุงยา กระโถนดินเผา ตาลปัตร ย่าม เชิงเทียน กระถางธูป




ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

พระธาตุภูเพ็ก

พระธาตุภูเพ็ก

ตั้งอยู่ที่ตำบลนาหัวบ่อ บนเส้นทางหลวงสายสกลนคร-อุดรธานี ทางหลวงหมายเลข 22 ห่างจากตัวเมืองสกลนครไปประมาณ 22 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายไปอีก 14 กิโลเมตร ผู้ที่จะไปนมัสการพระธาตุต้องเดินขึ้นบันไดประมาณ 491 ขั้น จะถึงองค์พระธาตุซึ่งสร้างอยู่บนยอดเขาภูพาน องค์พระธาตุสร้างด้วยหินทราย อยู่บนฐานศิลาแลง มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม ด้านหน้าเชื่อมต่อกับมณฑป รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ชั้นที่ 1 สูงประมาณ 1.58 เมตร ชั้นที่ 2 สูงประมาณ 0.70 เมตร ตัวปราสาทสูง 7.67 เมตร ซึ่งยังสร้างไม่แล้วเสร็จ ไม่มีหลังคา และยอดปราสาท เพียงแต่ทำขื่อตั้งไว้เท่านั้น พระธาตุภูเพ็กสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 เพื่อเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ภายหลังดัดแปลงเป็นพุทธศาสนสถานและมีการยกเรื่องประวัติศาสตร์ การก่อสร้างไว้ในตำนานพระอุรังคธาตุ หรือตำนานพระธาตุพนม ซึ่งกล่าวไว้ว่า พระธาตุภูเพ็กสร้างโดยกลุ่มผู้ชายเพื่อแข่งขันกับกลุ่มผู้หญิงซึ่งสร้างพระธาตุนารายณ์เจงเวงเพื่อรอบรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้า แต่กลุ่มผู้ชายได้ยุติการสร้างเมื่อเห็นดาวเพ็กบนท้องฟ้า ซึ่งเป็นกลลวงของกลุ่มผู้หญิงผู้สร้างพระธาตุนารายณ์เจงเวง ปราสาทหลังนี้จึงได้ชื่อว่า ปราสาทพระธาตุภูเพ็ก ตามชื่อดาว "เพ็ก"การเดินทาง ตามทางหลวงหมายเลข 22 (สกลนคร-อุดรธานี) ห่างจากตัวเมืองสกลนครประมาณ 22 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายไปอีก 14 กิโลเมตร




ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร

วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร


ที่ตั้ง
วัดพระธาตุเชิงชุมตั้งอยู่ริมหนองหารในเขต เทศบาลสกลนคร มีพื้นที่ 18 ไร่ 1 งาน 27 ตารางวา อยู่ปลายสุดของถนนเจริญเมือง มี อาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือและทิศตะวันออก ติดกับหนองหารหลวงและบ้านเรือนชาวคุ้มทิศ ตะวันตก ติดกับถนนเรืองสวัสดิ์ ทิศใต้ ติดกับ ถนนเจริญเมือง


ประวัติความเป็นมา
ตามอุรังค นิทาน กล่าวว่า วัดพระธาตุเชิงชุม เป็นสถานที่ พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาโปรดชาวเมืองหนองหาร หลวง และกล่าวว่าบริเวณนี้เป็นที่บรรจุพระบาท ของพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ คือ พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า กุกสันโธ โกนาคมโน กัส สะโป และโคตมะ ซึ่งก่อนจะเสด็จดับขันธ์ ปรินิพพาน ต้องไปประทับรอยพระบาทไว้ที่นั่นทุก พระองค์ นับว่าพระพุทธเจ้าพระนามว่า ศรี อาริยเมตตรัย องค์ที่ 5 ในภัทกัปป์นี้ ก็จะประทับรอยพระบาทไว้เช่นกัน ด้วยเห ตะนี้จึงถือกันว่าวัดพระธาตุเชิงชุม จึงเป็นวัดแรกที่พระยาสุวรรณภิงคาระ พระะ นางนารายณ์เจงเวง และเจ้าคำแดง อนุชาพระยา สิวรรณภิงคาร มาสร้างวัดขึ้นเมื่อย้ายราชธานี จากบริเวณซ่งน้ำพุและท่านางอายฝั่งตรงข้าม หนองหาร เมื่อครั้งหนองหารล่มเพราะการกระทำของ พญานาค อย่างไรก็ตาม จากหลักฐานเสมา หินที่พบอยู่รอบ ๆ วัดพระธาตุเชิงชุม และหลักฐานแท่านบูชารูปเคารพ ตลอดยนศิลาจารึกตัว อักษรขอมในพุทธศตวรรษที่ 15 - 16 ซึ่งอยู่ ติดผนังทางเข้าภายในอุโมงค์พระธาตุเชิงชุม (ชั้นใน) ซึ่งก่อเป็นพระธานุหรือ สถูปขนาดเล็ก หลักฐานเหล่านี้บ่งบอกว่า บริเวณ วัดพระธาตุเชิงชุมได้มีชุมชนเกิดขึ้น ต่อเนื่องกันมา โดยเฉพาะศิลาจารึกที่กรอบประตู ทางเข้าปรางค์ขอมหรือสถูป ซึ่งมีความกว้าง 49 ซ.ม. ยาว 52 ซ.ม. เขียน เป็นตัวอักษรขอมโบราณ เนื้อความกล่าวถึงบุคคลจำนวน หนึ่ง ได้พากันไปชี้แจงแก่โขลญพล หัว หน้าหมู่บ้าน พระนุรพิเนาตามคำแนะนำ ของกำแสดงว่าที่ดินที่ราษฎรหมู่บ้านพะ นุรนิเนามอบให้โบลูญพลนี้มี 2 ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นที่ดินในหลักเขต ให้ขึ้น กับหัวหน้าหมู่บ้านพะนุรพิเนา นอกจาก เรื่องการมอบที่ดินแล้ว ข้อความตอนท้ายของ จารึกได้กล่าวถึงการกัลปนาของโขลญพลที่ได้ อุทิศตน สิ่งของที่นา แด่เทวสถานและสงกรานต์
กล่าวโดยสรุปในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15 - 16 บริเวณวัดพระธาตุเชิงชุมคงถูกปกครอง โดยคนกลุ่มขอมที่พากันสร้างวัด โดยอุทิศ ที่ดิน บริวาร ข้าทาส ให้ดูแลวัด หรือศา สนสถานแห่งนี้ ซึ่งอาจเป็นศาสนสถานตาม คติพราหมณ์หรือพุทธมหายานก็ได้


ความสำคัญต่อชุมชน
หลักฐานการตั้งชุมชนบริเวณวัดพระ ธาตุเชิงชุมในสมัยรัตนโกสินทร์ค่อนข้างเด่น ชัด โดยเฉพาะพงศาวดาร ฉบับพระยาประจันตประเทศธานี ( โง่นคำ) กล่าวว่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดผ้าจุ)าโลกมหาคาช โปรด เกล้าฯ ให้อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ พร้อมไพร่พลตัวเลก มาตั้งเมืองรักษาพระธาตุเชิงชุม เมื่อมีผู้ คนมากขึ้นก็โปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านธาตุ เชิงชุม ขึ้นเป็นเมืองสกลทวาปี เมื่อปี พ .ศ.2329 อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดศึก เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เป็นกบฏใน พ.ศ .2370 เมืองสกลนครต้องโทษเป็นกบฎขัดขืนอาญา ศึก เจ้าเมืองฝักใฝ่กับเจ้าอนุวงค์ไม่ได้เตรียม กำลังไพร่พล กระสุนดินดำ เว้ให้ทัพหลวงตาม คำสั่ง พระธานีเจ้าเมืองสกลทวาปีถูกประหาร ชีวิต ญาติพี่น้องเจ้าเมืองถูกกวาดต้อนไปอยู่ เมืองกบิลประจันตคาม จึงทำให้บริเวณวัดพระธาตุ เชิงชุม ซึ่งเป็นศูนย์กลางของเมืองถูกทิ้งร้าง ชั่วคราวปล่อยให้หมู่บ้านรอบ ๆ 10 หมู่บ้าน เป็นข้าพระธาตุดูแลวัดแห่งนี้
หลังการกบฎของเจ้าอนุวงศ์ ราชวงศ์ (คำ) แห่งเมือง มหาชัยกองแก้วได้เข้ามาพึ่งบราโพธิสมภาร โปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็นพระประเทศธานี(คำ ) เจ้าเมืองและให้ราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์มาดำรงตำแหน่ง อุปฮาด ให้ท้าวอินน้องชายราชวงศ์(คำ)เป็น ราชวงศ์ ให้ท้าวบุตรเมืองกาฬสินธุ์เป็นราชวงศ์ มีการสร้าง กุฏิ ศาลาการเปรียญตั้งแต่นั้นมาวัดพระธาตุ เชิงชุมก็เจริญขึ้นตามลำดับ
จึงถือว่าวัดพระธาตุเชิงชุมเป็นศูนย์กลางของเมืองสกลนคร มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน


ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของพระธาตุเชิงชุม
วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร มีโบราณสถาน โบราณวัตถุสำคัญ ๆ นับแต่องค์พระธาตุเชิงชุม หลวงพ่อพระ พุทธองค์แสน พระอุโบสถ พระวิหาร หอจำศีล ( สิมหลังเล็ก) 90 ไตร ฯลฯ ในที่นี้ขอ อธิบายเฉพาะตัวสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุเท่านั้น
พระธาตุเชิงชุมเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนสี่ เหลี่ยม สูง 24 เมตรเศษ มีซุ้มประตู 4 ด้าน คือ ด้านตะวันตก ด้านเหนือ ด้านใต้ ลักษณะประตูเป็นประตู ปิด - เปิด ได้แต่เปิดไม่ได้มากเพราะติด องค์สถูปภายใน ซึ่งเจดีย์องค์ใหม่สร้างครอบไว้ ส่วนด้านตะวันออกเป็นประตูทางเข้าสถูปภายใน วิหาร
ทรวดทรงของพระธาตุเชิงชุม เป็นทรงเจดีย์ สี่เหลี่ยมลดชั้นจากฐานขึ้นไปสู่ยอดเป็น ช่วง ๆ 3 ช่วง จึงถึงเต้าระฆัง และรับด้วย ดวงปลีที่ทำเป็นทรงบัวเหลี่ยมปักยอดฉัตร ทองคำ ลักษณะการลดชั้นเจดีย์รับด้วยดวงปลี ทรงบัวเหลี่ยม ทำให้องค์พระธาตุเชิงชุมมี ความสวยงามกระทัดรัดไม่เทอะทะ เช่น เจดีย์ทรง ฐานกว้างเตี้ย นอกจากนี้สถาปนิกยังสร้างให้ซุ้ม ประตู 3 ด้าน เพื่อให้ประชาชนเห็นองค์พระธาตุ (สถูป) เดิมภายใน ต่อมาได้มีการ นำพระพุทธรูปปางห้ามญาติ อิทธิพลล้านช้าง มาติดไว้ในซุ้มทั้ง 3 ด้าน นับว่าเป็น ส่วนประกอบองค์สถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ และเป็นประติมากรรม แบบล้านช้างที่แท้จริง
องค์ประกอบสำคัญขององค์พระธาตุเชิงชุมคือ ซุ้มประตูโขงทรงหอแก้วดอ เป็นลักษณะหอแก้วเฟื่อง คือ มีขนาดพองาม และ ในพื้นที่ครึ่งหนึ่งของปริมณฑล ทำให้พื้นที่ บริเวณฐานเจดีย์องค์พระธาตุสวยงาม ในส่วนราย ละเอียดของซุ้มประตูนั้นเป็นงานสถาปัตยกรรมฝีมือช่าง ชั้นครู โดยเฉพาะลายของก้นหอยซึ่งทำขนาด ใหญ่น้อยเรียงกันไป เพียงแต่มีปูนขาวทาบ ทับนนหนาปิดบังความคมชัดของลายก้นหอย อันวิจิตรบรรจง



ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น