วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

คลิปการแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน

การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน

ฟ้อนภูไทสกลนคร





เซิ้งบั้งไฟ





ฟ้อนหมากกั๊บแก้บ-ลำเพลิน






ฟ้อนสาวไหม




เซิ้งกระติบข้าว





เซิ้งลำเพลิน


แหล่งที่มา

http://www.youtube.com/watch?v=eaj4p5n5GEI

http://www.youtube.com/watch?v=aKUA2vAJWFY

http://www.youtube.com/watch?v=nI2wPQsvhcQ&feature=related

http://www.youtube.com/watch?v=OvYAYmlQXSc

http://www.youtube.com/watch?v=DVo0kxLSBxY

http://www.youtube.com/watch?v=gRai0wh1uCk

คลิปอาหารอีสาน

อาหารอีสาน





ลาบหมู






ส้มตำ






ก้งเต้น

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

การแสดงประจำภาคอีสาน

การแสดงประจำภาคอีสาน

การแสดงประจำภาคอีสานภาคนี้โดยทั่วไปมักเรียกว่าภาคอีสาน ภาคอีสาน ภูมิประเทศภาคอีสานเป็นที่ราบสูง ค่อนข้างแห้งแล้งเพราะพื้นดินไม่เก็บน้ำ ฤดูแล้งจะกันดาร ฤดูฝนน้ำจะท่วม แต่ชาวอีสานก็มีอาชีพทำไร่ทำนา และเป็นคนรักสนุกและขยัน อดทน คนอีสานมักไปขายแรงงานในท้องที่ภาคกลางหรือภาคใต้ เพลงพื้นเมืองอีสานจึงมักบรรยายความทุกข์ ความยากจน ความเหงา ที่ต้องจากบ้านมาไกล ดนตรีพื้นเมืองแต่ละชิ้นเอื้อต่อการเล่นเดี่ยว

การจะบรรเลงร่วมกันเป็นวงจึงต้องทำการปรับหรือตั้งเสียงเครื่องดนตรีใหม่เพื่อให้ได้ระดับเสียงที่เข้ากันได้ทุกครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม คนอีสานก็พยายามหาความบันเทิงในทุกโอกาส เพื่อผ่อนคลายความไม่สบายใจหรือสภาพความทุกข์ยากอันเนื่องจากสภาพธรรมชาติ

เครื่องดนตรีพื้นเมืองอีสาน เช่น พิณ แคน โหวด โปงลาง หืน ซอ ปี่ไม้ซาง กลองตุ้ม กลองยาว เป็นต้น ทำนองเพลงพื้นเมืองอีสานมีทั้งทำนองที่เศร้าสร้อยและสนุกสนาน เพลงที่มีจังหวะเร็วนั้นถึงจะสนุกสนานอย่างไรก็ยังคงเจือความทุกข์ยากลำบากในบทเพลงอยู่เสมอ ทำนองเพลงหรือทำนองดนตรีเรียกว่า “ลาย” เช่น ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ลายนกไส่บินข้ามท่ง ลายลมพัดพร้าว ลายน้ำโตนตาด เป็นต้น

การขับร้องเรียกว่า “ลำ” ผู้ที่มีความชำนาญในการลำเรียกว่า “หมอลำ” ลำมีหลายประเภท เช่น ลำกลอน ลำเพลิน ลำเรื่องต่อกลอน ลำผญา(ผะหยา) ลำเต้ย เป็นต้น ส่วนบทเพลงหรือลายบรรเลงก็มาจากภูมิปัญญาชาวที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านดนตรีโปงลาง เช่นอาจารย์ทรงศักดิ์ ปทุมสิน ซึ้งเป็นผู้เชี่ยวทางด้านโหวด และอาจารย์ทองคำ ไทยกล้า เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้าน แคน ภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถแบ่งเรื่องการละเล่นพื้นเมืองได้ เป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มอีสานเหนือ ซึ่งสืบทอดวัฒนธรรมมาจากกลุ่มวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขง ที่เรียกว่า กลุ่มไทยลาว หรือกลุ่มหมอลำ หมอแคน ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีมากที่สุดในภาคอีสาน
2. กลุ่มอีสานใต้ แบ่งออกได้อีก 2 กลุ่ม คือ • กลุ่มที่สืบทอดวัฒนธรรมเขมร - ส่วย หรือที่เรียกว่า "กลุ่มเจรียง - กันตรึม" • กลุ่มวัฒนธรรมโคราช หรือที่เรียกว่า "กลุ่มเพลงโคราช" ถ้าพิจารณาถึงประเภทของเพลงพื้นเมืองอีสาน โดยยึดหลักเวลา และโอกาสในการขับร้องเป็นหลัก สามารถแบ่งออกได้ 2 กลุ่ม คือ
1. เพลงพิธีกรรม • กลุ่มอีสานเหนือ ได้แก่ การลำพระเวสหรือการเทศน์มหาชาติ การแหล่ต่างๆ การลำผีฟ้ารักษาคนป่วย การสวดสรภัญญะ และการสู่ขวัญในโอกาสต่างๆ ฯลฯ • กลุ่มอีสานใต้ ได้แก่ เรือมมม็วต เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งของชาวสุรินทร์ ซึ่งมีความเชื่อมาแต่โบราณว่า "เรือมมม็วต" จะช่วยให้คนที่กำลังเจ็บไข้ได้ป่วยมีอาการทุเลาลงได้ ผู้เล่นไม่จำกัดจำนวน แต่จะต้องมีหัวหน้าหรือครูมม็วตอาวุโสทำหน้าที่เป็นผู้นำพิธีต่างๆ และเป็นผู้รำดาบไล่ฟันผีหรือเสนียดจัญไรทั้งปวง
2. เพลงร้องเพื่อความสนุกสนาน • กลุ่มอีสานเหนือ ได้แก่ หมอลำ ซึ่งแบ่งได้ 5 ชนิด คือ หมอลำพื้น หมอลำกลอน หมอลำหมู่ หมอลำเพลิน หมอลำผีฟ้า • กลุ่มอีสานใต้ ได้แก่ กันตรึม เจรียง เพลงโคราช ปัจจุบันมีการแสดงชุดใหม่ที่สถาบันต่างๆ ของภาคอีสานแต่ละกลุ่มได้ประดิษฐ์การฟ้อนรำขึ้นใหม่ ทำให้มีผู้แบ่งศิลปะการฟ้อนทั้งชุดเก่า และชุดใหม่ที่ปรากฏอยู่ของภาคอีสานออกเป็น 8 กลุ่มใหญ่ ซึ่งแต่ละกลุ่มจะออกมาในรูปของการแสดงพื้นเมือง ได้แก่
1. การฟ้อนเลียนกิริยาอาการของสัตว์ เช่น กระโนบติงตอง แมงตับเต่า และกบกินเดือน ฯลฯ
2. การฟ้อนชุดโบราณคดี เช่น ระบำบ้านเชียง รำศรีโคตรบูรณ์ ระบำพนมรุ้ง และระบำจัมปาศรี
3. การฟ้อนประกอบทำนองลำนำ เช่น ฟ้อนคอนสวรรค์ รำตังหวาย เซิ้งสาละวัน และเซิ้งมหาชัย
4. การฟ้อนชุดชุมนุมเผ่าต่างๆภูไท 3 เผ่า คือ เผ่าไทภูพาน รวมเผ่าไทยบุรีรัมย์ และเผ่าไทยโคราช
5. การฟ้อนเนื่องมาจากวรรณกรรม เช่น มโนห์ราเล่นน้ำ
6. การฟ้อนเซ่นสรวงบูชา เช่น ฟ้อนภูไท แสกเต้นสาก โส้ทั่งบั้ง เซิ้งผีหมอ ฟ้อนผีฟ้า ฟ้อนไทดำ เรือมปัลโจล ฟ้อนแถบลาน รำบายศรี เรือมมม๊วต เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งนางด้ง รำดึงครกดึงสาก และเซิ้งเชียงข้อง ฯลฯ
7. การฟ้อนศิลปาชีพ เช่น รำตำหูกผูกขิก ฟ้อนทอเสื่อบ้านแพง เรือมกลอเตียล (ระบำเสื่อ) เซิ้งสาวย้อตำสาด รำปั้นหม้อ รำเข็นฝาย เซิ้งสาวไหม รำแพรวา เซิ้งข้าวปุ้น รำบ้านประโคก เซิ้งปลาจ่อม เซิ้งแหย่ไข่มดแดง และเรือมศรีผไทสมันต์ ฯลฯ
8. การฟ้อนเพื่อความสนุกสนานรื่นเริง เช่น เซิ้งแคน ฟ้อนชุดเล่นสาว เป่าแคน รำโปงลาง ฟ้อนกลองตุ้ม เซิ้งกะโป๋ เซิ้งทำนา เซิ้งสวิง เซิ้งกะหยัง รำโก๋ยมือ รำกลองยาวอีสาน ระบำโคราชประยุกต์ เรือมอันเดร เรือมซันตรูจน์ เรือมตลอก (ระบำกะลา) และเรือมจับกรับ ฯลฯ


ตัวอย่างการแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน

* หมอลำอีสาน หมอลำ แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ หมอลำผีฟ้า หมอลำพื้น หมอลำกลอน และหมอลำหมู่ หมอลำผีฟ้า หมอลำผีฟ้า หมายถึง หมอลำที่ติดต่อกับผีฟ้า ความมุ่งหมายของการร้องรำผีฟ้าก็เพื่อรักษาคนป่วย แล้วเชิญชวนคนป่วยให้ลุกขึ้นมาร่วมร้องรำทำเพลงกับคณะหมอลำ ไม่ได้เจตนาลำเพื่อสร้างความบันเทิงให้แก่ผู้ฟัง แต่มุ่งสร้างความบันเทิงให้แก่คนป่วยเป็นสำคัญ กลอนลำของหมอลำผีฟ้าและเพลงแคนเป็น " กลอนผญา " เหมือนกับกลอนเกี้ยวระหว่างหนุ่มสาว ร้องรำได้ก็ต่อเมื่อผีฟ้ามาเข้าสิง เฉพาะบทเชิญพญาแถนลงมาเยี่ยมคนป่วย ทำนองลำและทำนองแคน เรียกกันว่า " ลำทางยาว " คือ ลำแบบมีเสียงเอื้อนยาวสะอึกสะอื้นนั่นเอง ทำนองแคนในทางปฏิบัติจะเป็น " ลาย "หมอลำพื้น หมอลำพื้น หมายถึง " หมอลำนิทาน " คือ หมอที่เล่านิทานด้วยการลำ (ขับร้อง) คำที่เก่าแก่พอ ๆ กันกับ " ลำพื้น " ก็คือ " เว้าพื้น " ซึ่งตรงกับว่า " เล่านิทาน " หมอลำพื้นจะเป็นหมอลำคนเดียว และมีหมอแคนเป่าคลอเสียงประสานไปด้วยหมอลำกลอน หมอลำกลอนคือ หมอลำที่ลำโดยใช้กลอน ถ้าจะให้ใกล้เคียงกับความหมายก็น่าจะเป็น" หมอลำโต้กลอน " มากกว่า เพราะเป็นการลำแข่งขันโต้ตอบกันด้วยกลอนลำแบ่งได้เป็น ๓ ประเภท คือ หมอลำกั๊บแก๊บ หมอลำกลอน (ธรรมดา) และหมอลำชิงชู้ หมอลำกั๊บแก๊บ หรือหมอลำกรับ หมอลำ (คนเดียว) จะลำเป็นทำนองลำกลอน หมอลำกลอน เป็นหมอลำคู่ ชาย - ชาย หรือ ชาย - หญิง ปัจจุบันจะมีเฉพาะคู่ชาย - หญิง เท่านั้น สมัยก่อนจะเน้นในทางแข่งวิชาความรู้กันเป็นหลัก ปัจจุบันนิยมการลำเกี้ยวกันเป็นการสนุกสนานเพลิดเพลิน ต้องใช้ศิลปะสูงยิ่งกว่าหมอลำประเภทใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งการฝึกฝนอบรม ความขยันหมั่นเพียร ตลอดจนคุณค่าของบทกลอน ทำนองลำมีอยู่สองทำนองคือ ทำนองลำทางสั้น กับทำนองลำทางยาวปัจจุบันมีทำนองลำเต้ยเพิ่มเข้าเป็นตอน ทำนองลำทางสั้นเนื้อเต็มไม่มีเอื้อนมีจังหวะสม่ำเสมอ ทำนองรำทางยาวหรือบางทีเรียกว่า ลำล่อง หรือลำอ่านหนังสือ เป็นทำนองลำแบบเอื้อนเสียงยาวสะอึกสะอื้นแสดงอารมณ์โศกส่วนลำเต้ยเป็นการลำแบบเนื้อเต็ม มีจังหวะคึกคัก มีชีวิตชีวา แสดงอารมณ์รักและอ่อนหวาน มักจะแสดงตลอดทั้งคืน ประมาณสามทุ่มจนถึงสว่าง ทำนองลำเต้ย หมายถึง เพลงสั้น ๆ ที่ใช้ลำเกี้ยวกันและมีจังหวะคึกคักมีชีวิตชีวา ซึ่งมีทั้งหมด ๔ ทำนองคือ เต้ยโขง เต้ยพม่า เต้ยธรรมดา และเต้นหัวโนนตาล หมอลำชิงชู้ เป็นหมอลำประเภทหนึ่งที่มีหมอลำฝ่ายชาย ๓ คน ฝ่ายหญิง ๑ คน เป็นการลำประชันแข่งขันระหว่างฝ่ายชายเพื่อเอาชนะใจฝ่ายหญิง สมมุตฝ่ายชายทั้งสามให้เป็นข้าราชการ พ่อค้า และชาวนา บางทีเรียกหมอลำนี้ว่า หมอลำสามเกลอ หรือหมอลำสามสิงห์ชิงนางหมอลำหมู่ หมอลำหมู่คือ หมอลำที่มีผู้แสดงหลายคน โดยแสดงเป็นเรื่องราว แสดงละคร หรือลิเก โดยนำเอานิทานพื้นบ้านมาทำบทใหม่ เช่น เรื่องนางแตงอ่อน ท้าวสีทน ขุนลู (ซูลู) -นางอั้ว ผาแดง - นางไอ่ ท้าวการะเกดและท้าวก่ำกาดำ เป็นต้น แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ หมอลำหมู่ กับหมอลำเพลิน ลำหมู่ธรรมดามักจะเน้นเรื่องความจริงจัง ความเป็นอนุรักษ์นิยมมีทำนองโศก แต่งตัวสุภาพเรียบร้อย ส่วนลำเพลินจะเน้นความสนุกสนานเพลิดเพลินและความเป็นอิสรนิยมเป็นสำคัญ แต่งตัวแบบสมัยนิยม คือ นุ่งกระโปรงสั้นอวดรูปทรงเหยา พิธีการอ้อนวอนผีด้วยการร่ายรำ เป็นการเสี่ยงทายให้ผีแจ้งความประสงค์เพื่อแก้ไขเคราะห์การเจ็บไข้ได้ป่วยของคนในครอบครัว เป็นประเพณีของชาวผู้ไทยที่มีความเชื่อและนับถือผีมาแต่โบราณ เรียกว่า ประเพณีการเหยาวิทยาลัยนาฏศิลป์จังหวัดกาฬสินธุ์ กรมศิลปากรได้ประยุกต์เป็นท่ารำใหม่โดยอิงลักษณะการร้องและรำจากประเพณีเดิม โดยใช้เครื่องดนตรี แคน โปงลาง พิณ เบส โหวด กลอง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ และเกราะ การร่ายรำมีทั้งจังหวะช้าและเร็ว การแต่งกาย เสื้อคอกลมและแขนยาวนุ่งผ้ามัดหมี่ ห่มแพรวา กลองเส็ง , กลองสองหน้า กลองเส็ง เป็นการแสดงที่ใช้กลองเป็นเครื่องมือแสดงความสามารถในการตีกลองได้ดังและแม่นยำแคล่วคล่องว่องไว เป็นที่นิยมทั่วไป โดยเฉพาะในกลุ่มชาวโส้หรือกระโซ่ จังหวัดสกลนคร กลุ่มชาวผู้ไทย กลุ่มชาวย้อ กลุ่มชาวกะเลิง มีความนิยมกันมาก จึงได้ปรากฎการคิดสร้างสรรค์ท่าตีกลองแตกต่างกันออกไปแปลก ๆ การตีกลองเส็งจะต้องมีการแข่งขัน เพราะคำว่า “เส็ง” แปลว่า “การแข่งขัน” จึงนับเป็นการแสดงแบบกีฬาประเภทหนึ่งที่นิยมจัดขึ้นในเทศกาลงานบุญ แต่ก็ไม่มีบ่อยครั้งนัก กล็องเส็งนั้นสำคัญอยู่ที่กลองกับคนตีกลอง สำหรับตัวกลองนั้นขุดด้วยไม้จนกลวง มีปากกว้าง ก้นแคบ ใช้หนังวัวหรือหนังควายหุ้มหน้ากลอง มีสายเร่งสำหรับเร่งให้หน้ากลองตึงมากหรือน้อยตามความต้องการ เฉพาะในกลุ่มหมู่บ้านที่มีความสนิทชิดชอบกัน หรือเจ้าอาวาสของแต่ละวัดชอบพอเคารพนับถือกันดีอยู่ บางครั้งก็มีการแข่งขันกันในงานบั้งไฟ โดยปักสลากระบุว่าให้เอากลองเส็งไปพร้อมกับบั้งไฟด้วย เวลาหามเอากลองเส็งไปยังที่แข่งขัน จะต้องตั้งพิธียกครูจุดธูปเทียนบูชาอธิษฐานขอให้ได้ชัยชนะ เวลาหามไปก็จะเคาะกลองไปเบา ๆ ให้เสียงกลองเป็นสัญญาณบอกว่ากลองของหมู่บ้านนั้น ๆ กำลังจะมาถึงแล้ว เมื่อลงมือแข่งขันกันก็เริ่มต้นมัดกลองทั้งคู่เข้ากันเป็นคู่ ๆ เริ่มจากเสียงเบาที่ฟังเพราะก่อน จากนั้นก็จะค่อย ๆ ดังขึ้น ๆ ตอนนี้เองถ้าฝ่ายใดเหนือกว่าก็จะส่งเสียงกลบอีกฝ่ายหนึ่งอย่างราบคาบ ถ้าค่อนข้างสูสีกันจะมีเสียงอีกฝ่ายหนึ่งดังสอดแทรกขึ้นบ้าง แต่ที่เสมอกันก็จะยิ่งดังมากขึ้น ผู้ตีกลองนั้นจะเคลื่อนไหวร่างกายจนสั่นเทิ้มไปทั้งตัว สะโพกก็จะส่ายไปมาอย่างรวดเร็วด้วย การแพ้ชนะไม่ได้อะไรกลับไป นอกจากผู้ชนะจะได้มีหน้ามีตาเท่านั้น ในปัจจุบันกำลังได้รับการฟื้นฟูขึ้นอีก หลังจากซบเซามาเกือบ 40 ปีรำลาวกระทบไม้ "รำกระทบไม้" เป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวจังหวัดสุรินทร์ เดิมเรียกว่า "เต้นสาก" ประเทศไทยมีอาชีพทางกสิกรรมมาช้านาน การทำนาผลิตข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย และทำรายได้เป็นสินค้าออกให้แก่ประเทศไทยอย่างมากมาย ชีวิตประจำวันของคนไทยส่วนใหญ่จึงคลุกคลีอยู่กับการทำนา เริ่มตั้งแต่หว่าน ไถ ดำ และเก็บเกี่ยว เป็นต้น ด้วยนิสัยรักสนุก

เอกลักษณ์การฟ้อนภาคอีสาน

การฟ้อนของภาคอีสานนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ที่ผู้ชมสามารถแยกแยะได้ทันทีว่าต่างจากภาคอื่นๆ แม้จะไม่มีการประกาศให้ทราบล่วงหน้าก่อนการแสดงซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้
1. ท่วงทำนองของดนตรี จังหวะ ลีลาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น มีความสนุกสนานเร้าใจแตกต่างจากภาคอื่นๆ ของไทย
2. การแต่งกายของผู้แสดง ทั้งนักแสดงหญิงและชายจะมีความเด่นชัด ในฝ่ายหญิงจะนุ่งซิ่นมัดหมี่ สวมเสื้อแขนกระบอก ห่มผ้าสไบหรือแพรวา ผมเกล้ามวย ฝ่ายชายจะสวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งโสร่งผ้าลายเป็นตาๆ ก็พอจะบอกได้ว่าเป็นการแสดงของอีสาน
3. เครื่องดนตรี นับเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของภาคอีสานอบ่างชัดเจน พิณ แคน โปงลาง โหวด ไหซอง กลองตุ้ม ถึงแม้จะยังไม่มีการบรรเลงก็พอจะบอกได้ว่า การแสดงต่อไปนี้จะเป็นการแสงของภาคอีสาน
4. ภาษาอีสาน แน่นอนว่าเป็นภาษาเฉพาะถิ่นที่มีสำเนียงที่แตกต่าง เป็นการชี้ชัดว่าเป็นการแสดงของภาคอีสาน ท่าฟ้อนพื้นบ้านอีสาน ท่าฟ้อนของภาคอีสานนั้นมีความเป็นอิสระสูง ไม่มีข้อจำกัดตายตัวทั้งมือและเท้า ส่วนใหญ่ท่าฟ้อนจะได้มาจากท่าทางหรืออริยาบถธรรมชาติ และมีท่าพื้นฐานที่แตกต่างกันไปเฉพาะถิ่น เช่น ฟ้อนผู้ไท ฟ้อนผีฟ้า ฟ้อนไทยดำ เรือมอันเร เป็นต้น ถึงแม้จะมีความคิดที่จะพยายามกำหนดท่าฟ้อนของภาคอีสานให้เป็นแบบฉบับขึ้น มีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับนาฏศิลป์ภาคกลางที่มี "ท่าแม่บท" เป็นพื้นฐานในการฟ้อนรำนั้น เป็นแนวคิดหนึ่งที่ต้องการให้การฟ้อนภาคอีสานมีระบบ และหลักเกณฑ์ที่แน่นอนขึ้น ซึ่งไม่น่าจะเป็นแนวคิดที่ถูกต้องนัก เพราะจะเป็นการตีกรอบให้ตัวเองมากเกินไป ซึ่งตามจริงแล้วท่าฟ้อนของอีสานมีความเป็นอิสระไม่มีการกำหนดท่าแน่นอนตายตัวว่าเป็นท่าอะไร ขึ้นอยู่กับผู้ประดิษฐ์ท่ารำจะตั้งชื่อว่าเป็นท่าอะไร ความเป็นอิสระนี่เองที่ทำให้เกิดท่าฟ้อน ชุดใหม่ๆ ที่แปลกตา สวยงามยิ่งขึ้น ท่าฟ้อนที่เป็นแม่แบบส่วนใหญ่นำมาจากกลอนลำ ซึ่งเรียกว่า "กลอนฟ้อน" เป็นกลอนยาวใช้กลอนเจ็ดแปดหรือกลอนเก้าแล้วแต่ผู้แต่งถนัดแบบใด การฟ้อนเป็นศิลปอันหนึ่งที่มาพร้อมกับการลำ การฟ้อนจะมีกี่แบบไม่ปรากฏแน่ชัด แต่หมอลำจะแต่ง กลอนฟ้อนแบบต่างๆ ไว้ ในขณะที่ลำหมอลำจะฟ้อนแสดงท่าทางตามกลอนที่แต่ง ดูแล้วเป็นการสนุกสนาน เช่น
กลอนฟ้อน ของหมอลำเปลี่ยน วิมลสุข มีความพยายามในการแบ่งท่ารำภาคอีสานออกมาให้ชัดเจนซึ่งมีหลายสำนัก เช่น จิราภรณ์ วุฒิพันธ์ (นาฏศิลป์อีสาน) ได้แบ่งออกเป็น 32 ท่า ดังนี้
1. ท่าแฮ้งตากขา 2. ท่ากาตากปีก 3. ท่าหลีกแม่ผัว 4. ท่าคว้าหำปู 5. ท่าไกวอู่กล่อมหลาน 6. ท่าหนุมานคลุกฝุ่น 7. ท่าตุ่นเข้าอู่ 8. ท่าหนุมานถวายครูพิเภก 9. ท่าหนุมานถวายแหวน 10. ท่าแห่บั้งไฟแสน 11. ท่าเมาเหล้า 12. ท่าลำเจ้าชู้หยิกหยอกตาหวาน 13. ท่านักเลง 14. ท่ากวยครูมวยซิต่อย 15. ท่ากินรีเที่ยวชมดอกไม้ 16. ท่านกยูงรำแพน 17. ท่าผีไท้ลงข่วง 18. ท่าพายเฮือส่วง 19. ท่าลำเกี้ยวกันพวกหมอลำคู่ 20. ท่าลำหมู่ออกท่าลำเพลิน 21. ท่ามโนราห์เหาะเหิรบินบนขึ้นเลิ่น 22. ท่ารำโทนสมัยก่อน 23. ท่าเสือออกเหล่า 24. ท่าเต่าลงหนอง 25. ท่าปลาชะโดลงคลอง 26. ท่าแอะแอ่นแหงงมือให้เรียบ 27. ท่านักมวย 28. ท่างัวชนกัน 29. ท่าคนโบราณเลื่อยแป้น 30. ท่าสาวเตะกล้า 31. ท่าผู้เฒ่าจับอู่โหย่นหลาน 32. ท่าแม่ลูกอ่อนกินนม ส่วนวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ดได้คิดประดิษฐ์ชุดฟ้อนขึ้นโดยกำหนดว่าท่าแม่บทอีสานมีอยู่ 48 แม่ท่า เช่น ท่าพรหมสี่หน้า ท่าทศกัณฑ์เกี้ยวนางมณโฑ ท่าช้างเดินตามแม่ ท่าช้างชูงวง ท่ากาเต้นก้อน ท่ากากางปีก ท่าหลีกแม่เมีย ท่าลมพัดพร้าว ท่าท่าเสือออกเหล่า ท่าเต่าลงหนอง ท่าคนขาแหย่ง ท่าปู่สิงหลาน ท่าผู้เฒ่าฟังธรรม ท่าเกียจับไม้ ท่าบินนางมโนราห์ เป็นต้น


ลักษณะท่ามือและท่าเท้าการฟ้อนพื้นบ้านอีสาน

1. ท่ามือ ถ้าพิจารณาการเคลื่อนไหวของมือ คงเหมือนกับคำกล่าวที่ว่าท่าฟ้อนของอีสานเหมือน "ม่อนท่าวใย" คงเห็นภาพพจน์ได้ดีจากการฟ้อนของหมอลำที่หมุนมือพันกันคล้ายกับตั่วม่อนชักใยพันตัว ท่าฟ้อนของภาคอีสานนั้นได้มาจากธรรมชาติคือมีความเป็นอิสระ ขึ้นอยู่กับลีลาของผู้ฟ้อนที่จะขยับมือเคลื่อนกายไปอย่างไร · การจีบมือ ของชาวอีสานนั้นนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ไม่จดกัน จะห่างกันเล็กน้อยซึ่งแตกต่างจากการจีบของภาคกลาง ไม่สามารถเอาหลักนาฏศิลป์ของภาคกลางมาจับท่าฟ้อนของชาวอีสานได้ เพราะไม่สามารถบอกได้ว่าจะจีบหงาย จีบคว่ำตอนไหน

2. ท่าเท้า ท่าเท้าของการฟ้อนแบบอีสานมีลีลาแตกต่างจากภาคกลางเช่นเดียวกัน ซึ่งพอจำแนกท่าเท้าที่ใช้ในการฟ้อนได้ดังนี้ · ท่าซอยเท้า เช่น การรำเซิ้ง การซอยเท้าให้เข้าจังหวะกลอง โดยเปิดส้นเท้าเล็กน้อย ย่อเข่ายกส้นเท้าขึ้นไปด้านหลังให้มากที่สุด ซอยเท้าอย่างสม่ำเสมอ การรำเซิ้งนั้นมิใช่ยกเท้าให้ส้นเท้าสูง หรือยืนโดยอาศัยปลายเท้าคล้ายการเต้นบัลเล่ย์ซึ่งดูแล้วตลกผิดธรรมชาติ แต่เป็นการเปิดส้นเท้าเพียงเล็กน้อยเพื่อสะดวกในการซอยเท้า ซึ่งท่านี้ก็ไม่ใช่การย่ำเท้าอยู่กับที่โดยเหยียบเต็มฝ่าเท้า · ท่าเท้าของผู้ไทเรณูนคร การฟ้อนผู้ไทเรณูนครนอกจากจะมีการก้าวเดินตามธรรมดาแล้ว ยังมีอีกท่าหนึ่งซึ่งเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะของเรณูนครเท่านั้น คือมือบนจีบข้างหูโดยปลายนิ้วที่จีบจะหันเข้าข้างหู แล้วส่งจีบผ่านใต้รักแร้ไปด้านหลัง แทงปลายมือไปด้านหน้าในลักษณะคว่ำมือม้วนมือมาจีบไว้ข้างหูดังเดิม สลับกันไปทั้งมือซ้ายและมือขวา คือ ถ้ามือซ้ายจีบไว้ข้างหู มือขวาก็จะส่งไปข้างหลัง ส่วนท่าเท้าก็จะใช้ 4 จังหวะ คือ ขย่มตัว 2 จังหวะ ถ้ามือไหนส่งหลังกำลังจะแทงไปข้างหน้า ก็ใช้เท้าด้านนั้นแตะพื้น 4 ครั้ง อีก 2 จังหวะ โดยครั้งที่ 4 จะเหยียบขย่มตัว 2 จังหวะ ใช้เท้าอีกข้างหนึ่งแตะพื้น 4 ครั้ง แล้วเหยียบกันไปมาซึ่งจะสอดคล้องกับท่ามือที่เคลื่อนไหวไปมา

· ท่าเท้าของผู้ไทกาฬสินธุ์ ท่าเท้าของการฟ้อนผู้ไทในจังหวัดกาฬสินธุ์และการฟ้อนโปงลางจะใช้ท่าก้าวเท้าเช่นเดียวคือ การก้าวไขว้เท้าโดยเตะเท้าไปข้างหน้าก้าวไขว่ขย่มตัว ชักเท้าหลังเตะไปด้านหน้าไขว่เท้าขย่มตัวสลับกันไป ลักษณะคล้ายกับการเต้นควิกสเต็ป ที่แตกต่างกันก็คือการเตะเท้าไปข้างหน้า นอกนั้นใช้หลักการก้าวเท้าเช่นเดียวกับการเต้นควิกสเต็ป · ท่าสืบเท้าหรือกระถดเท้าไปด้านข้าง ท่านี้จะใช้ในการฟ้อนผู้ไทในจังหวัดกาฬสินธุ์ เช่นกัน เป็นการก้าวชิดก้าว แต่เป็นการก้าวเท้าไปทางด้านข้าง มีลักษณะเช่นเดียวกับการสไลด์เท้าไปทางด้านข้างนั่นเอง การฟ้อนของภาคอีสานส่วนใหญ่จะใช้การก้าวเท้าลักษณะเดียวกับการรำเซิ้ง จะมีพิเศษอีกแบบหนึ่งคือ ท่าเท้าของผู้ชายในการฟ้อนผู้ไท จะใช้ลีลาการก้าวเท้าของการรำมวยที่เรียกว่า การรำมวยลาว หรือรำมวยโบราณ ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอีกแบบหนึ่ง


ตัวอย่างการแสดงของภาคอีสาน
ฟ้อนภูไทสกลนคร





ฟ้อนภูไทสกลนคร การฟ้อนภูไทในจังหวัดสกลนคร เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยที่เริ่มสร้างองค์พระธาตุเชิงชุมซึ่งเป็นพระธาตุคู่ บ้านคู่เมืองของชาวสกลนครทุกชนเผ่า (คือมีการดัดแปลงปราสาทหินแบบเขมรแล้วครอบทับสร้างเป็นพระธาตุในศิลปะแบบ ล้านช้างขึ้นแทน) ชาวภูไทเป็นชนเผ่าที่รับอาสาที่จะเป็นผู้ปฏิบัติรักษาหาเครื่องสักการบูชา พระธาตุ ทุกๆปีเมื่อถึงฤดูข้าวออกรวง จะมีการเก็บเกี่ยวข้าวบางส่วนเพื่อนำไปทำเป็น ?ข้าวเม่า? ซึ่งชาวภูไทจะนำเอาข้าวเม่ามาถวายการสักการะองค์พระธาตุเชิงชุม ซึ่งมักจะมีขบวนแห่ เรียกว่า ?แห่ข้าวเม่า? และมีการฟ้อนรำรอบๆองค์พระธาตุ แต่เดิมเป็นการฟ้อนรำของผู้ชายเพื่อบูชาพระธาตุในเทศกาลสักการะองค์พระธาตุ แต่ภายหลังก็ได้เปลี่ยนผู้ฟ้อนมาเป็นผู้หญิงทั้งหมด เพราะท่วงท่าและลีลาการฟ้อนซึ่งจะดูสวยงามและอ่อนหวานมากกว่า ผู้ฟ้อนหญิงชาวภูไทจะแต่งกายตามแบบสตรีชาวภูไทสกลนคร และมีการสวมเล็บยาวในการฟ้อนรำอีกด้วย ต่อมาชาวภูไทในท้องถิ่นอื่นในจังหวัดสกลนครได้มาพบเห็นจึงได้นำไปประยุกต์ ท่าฟ้อนขึ้นอีก และมีการแต่งเนื้อร้องประกอบการแสดงเพิ่มเติมอีกด้วย ยกตัวอย่างเนื้อร้องฟ้อนภูไทที่กรมศิลปากรนำออกไปเผยแพร่จนรู้จักกันในทั่ว ไป ซึ่งแต่งโดย อ.บัวผัน วงศ์เทพ โรงเรียนบ้านหนองศาลา ตำบล พังขว้าง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร


เนื้อร้องฟ้อนภูไท(สกลนคร) ไปเย้อไป ไปโห่เอาชัยเอาซอง(ซ้ำ) ไปโฮมพี่โฮมน้อง ไปร่วมแซ่ฮ้องอวยชัย เชิงเขาแสนจน หนทางก็ลำบาก(ซ้ำ) ตัวข้อยสู้ทนยาก มาฟ้อนรำให้ท่านชม ข้อยอยู่เทิงเขา ยังเอาใจมาช่วย(ซ้ำ) พวกข้อยขออำนวย อวยชัยให้ละเน้อ ขออำนาจไตรรัตน์ จงปกปักฮักษา(ซ้ำ) ชาวไทยทั่วหน้า ให้วัฒนาสืบไป เวลาก็จวน ข้อยสิด่วนไป(ซ้ำ) ขอความมีชัย แด่ทุกท่านเทอญ ข้อยลาละเน้อ ข้อยลาละเน้อ..... ในปัจจุบันการฟ้อนภูไท นอกจากเป็นการฟ้อนเพื่อบูชาพระธาตุเชิงชุม หรือบ้างก็นำมาฟ้อนบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พิธีเลี้ยงเจ้าปู่มเหศักดิ์ของชาววาริชภูมิ ก็ได้นำมาใช้ในการฟ้อนต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองและในงานเทศกาลต่าง ๆ ท่าฟ้อนภูไทมีผู้สืบต่อและปรับปรุงกันมากมายหลายท่า แต่ละท้องถิ่นมีท่าแตกต่างกันไป ท่าหลักที่พบนิยมฟ้อน ได้แก่ ท่าบัวตูม-บัวบาน ท่าแซงแซวลงหาด ท่าบังแสง ท่านาคีม้วนหาง ท่านางไอ่เลาะดอน หรือนางไอ่เลียบหาด เป็นต้น เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อนภูไท ได้แก่ แคน กลองหาง พิณ กลองตุ้ม (ตะโพน) กลองเส็งหรือกลองกิ่ง โปงลาง ฉาบ หมากกั๊บแก๊บ (กรับ) ฆ้องโหม่งและพังฮาด (ฆ้องโบราณไม่มีปุ่ม) การแสดงจะบรรเลงดนตรีลายภูไทเลาะตูบ

การแต่งกาย เสื้อ นิยมทำเป็นเสื้อแขนกระบอกติดกระดุมธรรมดา กระดุมเงิน หรือเหรียญสตางค์ เช่น เหรียญสตางค์ห้า สตางค์สิบ มาติดเรียงเป็นแถว นิยมใช้เป็นผ้าย้อมครามเข้มจนดำมีผ้าขลิบแดงติดชายเสื้อ เช่น ที่คอสาบเสื้อ ปลายแขนปัจจุบัน นุ่งผ้าซิ่นพื้นสีดำต่อตีนซิ่นขิดยาวกรอมเท้า ผ้าเบี่ยงนิยมใช้ผ้าแพรขิดสีแดง พาดไหล่ซ้ายแล้วไปมัดที่เอวด้านขวา สวมส่วยมือยาว(เล็บ)ทำมาจากกระดาษหรือโลหะพันด้วยด้ายและมีพู่ที่ปลายเล็บสี ขาวหรือแดง ผมเกล้ามวยมัดมวยผมด้วยผ้าแดงบางครั้งก็ทัดผมด้วยดอกไม้สีขาวหรือไม่ก็ฝ้าย ภูไท และสวมเครื่องประดับเงิน เช่น สร้อยคอ ต่างหู กำไล


การเซิ้งบั้งไฟ



บุญบั้งไฟ นิยมทำกันในเดือนหก ถือเป็นประเพณีสำคัญที่จะขาดไม่ได้ เพราะตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ชาวอีสานมีความเชื่อว่า ถ้าปีใดไม่จัดงานบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกิดความแห้งแล้ง ไม่มีน้ำทำนา แต่ถ้าปีใดจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะตกต้องตามฤดูกาล เกิดความอุดมสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัย งานบุญบั้งไฟจึงถือเป็นงานประเพณี ประจำปีที่สำคัญของชาวอีสาน พอใกล้ถึงวันงานชาวอีสานไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็จะกลับบ้านไปร่วมงานบุญบั้งไฟ ซึ่งเป็นงานที่สร้างความรักความสามัคคีของคนท้องถิ่นเป็นอย่างดี

ตำนาน

ประเพณีบุญบั้งไฟตามตำนานเล่าว่า เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าถือชาติกำเนิดเป็นพญาคางคก ได้อาศัยอยู่ใต้ร่มโพธิ์ใหญ่ในเมืองพันทุมวดี ด้วยเหตุใดไม่แจ้ง พญาแถนเทพเจ้าแห่งฝนโกรธเคืองโลกมนุษย์มาก จึงแกล้งไม่ให้ฝนตกนานถึง 7 เดือน ทำให้เกิดความลำบากยากแค้นอย่างแสนสาหัสแก่มวลมนุษย์ สัตว์และพืช จนกระทั่งพากันล้มตายเป็นจำนวนมาก พวกที่แข็งแรงก็รอดตายและได้พากันมารวมกลุ่มใต้ต้นโพธิ์ใหญ่กับพญาคางคก สรรพสัตว์ทั้งหลายจึงได้หารือกันเพื่อจะหาวิธีการปราบพญาแถน ที่ประชุมได้ตกลงกันให้พญานาคียกทัพไปรบกับพญาแถน แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ จากนั้นจึงให้พญาต่อแตนยกทัพไปปราบแต่ก็ต้องพ่ายแพ้อีกเช่นกัน ทำให้พวกสรรพสัตว์ทั้งหลายเกิดความท้อถอย หมดกำลังใจและสิ้นหวัง ได้แต่รอวันตาย


วัตถุประสงค์การจัดงานบุญบั้งไฟ

1. เป็นการบูชาพระธาตุเกศแก้วจุฬมณีบนสวรรค์
2. เป็นการขอฝน

การเซิ้งบั้งไฟ

การเซิ้งบั้งไฟ เป็นการขับร้องเป็นกาพย์ เป็นกลอน ประกอบ เครื่องดนตรี พวกกลอง แคน ฉิ่ง เป็นหมู่คณะเพื่อความสนุกสนาน
ก. พวกเซิ้งธรรมะ เป็นพวกที่เรียบร้อย เป็นคณะและมีผู้กล่าวนำ มีการฟ้อนแบบต่างๆ ตามที่หัวหน้าคณะจะสั่ง กาพย์เซิ้งก็เป็นคติธรรมสอนใจไปด้วย
ข. พวกเซิ้งกินเหล้า เป็นพวกคอสุรา ไม่มีขบวน จับกลุ่มกันเล่นเซิ้งไม่เป็นระเบียบกาพย์ก็ตลกโปกฮา ทั้งคำสุภาพ คำหยาบ (แต่เขาไม่ถือว่าเสียหาย)
ค. พวกเซิ้งขอเงิน เป็นพวกที่ไม่อยู่ในอันดับ คือไม่มีบท ไม่มีทำนอง กลุ่มละ 4 - 5 คน ตีกลอง ตีปี๊บเคาะไม้แล้วแต่นึกออก พวกหลังนี้เล่นเพื่อขอเงินเท่านั้นเอง เพราะประเพณีนี้มีการเซิ้งขอสุรา ขอขนม ขอเงินซื้อสุรา ก็เลยตั้งคณะขึ้นขอบ้าง ส่วนมากเป็นพวกวัยรุ่นและเด็กเล็ก
ตัวอย่างบทเซิ้ง ที่เป็นบทตลก น่าสนใจ
แม่เถ้าเอ้ยลุกเขยมาแล้ว แม่เถ้าแก้วไปลี้อยู่ใส
อยู่คีไฟตาเหลี่ยมเม้าๆ ข้อยมาเว้าแม่เถ้าอย่าหนี

ฟ้อนหมากกั๊บแก้บ-ลำเพลิน

หมากกั๊บแก้บ(กรับ) เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะของภาคอีสาน มีด้วยกัน 2 ประเภท คือ
1. กั๊บแก้บไม้สั้น เป็นไม้ผิวเรียบยาวประมาณ 4-6 นิ้ว
2. กั๊บแก้บไม้ยาว เป็นไม้ผิวเรียบมีการหยักร่องฟันปลา เพื่อขูดกันให้เกิดเสียง การเล่นหมากกั๊บแก้บนั้น สามารถเล่นได้ทุกโอกาสที่มีการบรรเลงดนตรีพื้นบ้าน และผู้เล่นส่วนใหญ่มักจะแต่งกายเหมือนชาวอีสานโบราณ คือนุ่งผ้าเตี่ยวมีการสักลวดลายบนร่างกาย ปัจจุบันไม่นิยมการสัก จึงมักจะใช้สีเขียนลวดลายขึ้นแทน เช่นลายเสือผงาด ลายหนุมานถวายแหวน ลายนกอินทรี ลายมอม ลายสิงห์ เป็นต้นการเล่นหมากกั๊บแก้บ เป็นการเล่นที่ไม่มีรูปแบบตายตัว สุดแท้แต่ใครมีความสามารถในการแสดงออกถึงลีลาท่าทางที่โลดโผนให้เป็นที่ประทับใจของหญิงสาวได้มากน้อยเพียงใด หากเล่นกันเป็นคู่มีฝ่ายรุกฝ่ายรับ แล้วเปลี่ยนลีลาสลับกันก็ขึ้นอยู่กับโอกาสและปฏิภาณของผู้เล่นลำเพลิน เป็นการขับลำอีกประเภทหนึ่งของชาวอีสาน สันนิษฐานว่าการขับลำเพลินมาจากการลำทำนองตีกลองน้ำเพราะจังหวะลีลาท่วงทำนองคล้ายคลึงกันมากหมอลำเพลิน ถือกำเนิดขึ้นมาในสมัยใดไม่สามารถระบุหลักฐานได้แน่ชัด แต่ก็เป็นทำนองกลอนลำที่นิยมกันอย่างกว้างขวางทั้งในภาคอีสานและประเทศลาว ตั้งแต่ พ.ศ.2505 จนถึงปัจจุบัน บางคนก็เรียกทำนองหมอลำชนิดนี้ว่าหมอลำแก้วหน้าม้า อันเนื่องมาจาก แต่เริ่มเดิมทีนั้นหมอลำเพลินนิยมเล่นเรื่อง “แก้วหน้าม้า” เพียงอย่างเดียว ในสมัยต่อมาก็มีการเล่นเรื่อง “ขุนช้างขุนแผน” ซึ่งชาวอีสานจะนิยมเรียกว่า “ขุนแผน-ลาวทอง” เพราะนิยมเล่นตอนนางลาวทองเขียนสาสน์ ปัจจุบัน ลำเพลินพัฒนาตนเองไปอย่างรวดเร็ว จึงนิยมนำเอาวรรณกรรมและนิทานพื้นบ้านมาใช้เล่นกันอย่างกว้างขวางความไม่พิถีพิถัน ของคณะหมอลำและผู้จัดการวงหมอลำในปัจจุบัน ทำให้ภาพลักษณ์ของหมอลำเพลิน เกือบจะสูญเสียความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นอีสาน เพราะในขณะนี้หมอลำเพลินแทบทุกคณะ นิยมนำเอาเครื่องดนตรีสากลมาใช้ในการบรรเลงเพลงประกอบการแสดง แทบจะไม่เหลือความเป็นขนบดั้งเดิมของหมอลำ กลอนลำที่ใช้ก็ไม่ถูกต้องตรงกับเนื้อเรื่อง มักจะลำไปเรื่อยๆตามคำกลอนของผู้เขียนเพลงจะคิดได้

จุดเด่นของการฟ้อนหมากกั๊บแก้บ-ลำเพลิน อยู่ที่จังหวะลีลาท่วงทำนองดนตรี ประกอบกับท่าฟ้อนของชาวอีสาน เช่น ท่าถวยแถน ท่าหมาเยี่ยว ท่าลอยปลากระเดิด ท่าเสือตะครุบ ท่าดาวน้อย ท่าลำเพลินท่าบัวหุบ-บัวบาน ท่าส่าย ท่าเนิ้ง ฯลฯ ดนตรีบรรเลงลายแมงตับเต่า และทำนองหมอลำอัศจรรย์ลายลำเพลิน

การแต่งกาย - ชาย สวมเสื้อยันต์แขนกุดสีขาวขอบชายเสื้อสีแดง นุ่งผ้าลายโสร่ง เป็นโจงกระเบนรั้งสูงถึงต้นขา ม้วนปลายผ้าสอดไปด้านหลัง (เรียกลักษณะการนุ่งผ้าเช่นนี้ว่า การนุ่งแบบเสือลากหาง) มัดศีรษะด้วยผ้าขาวม้า และมัดเอวด้วยผ้าขิด - หญิง สวมเสื้อแขนกระบอก ห่มทับด้วยสไบขิด นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่ยาวคลุมเข่า ผมเกล้ามวยประดับมวยผมด้วยดอกไม้ และสวมเครื่องประดับเงิน

ที่มา

ภาษาท้องถิ่นภาคอีสาน

ภาษาท้องถิ่นภาคอีสาน


ภาคอีสาน เป็นเขตหรือภาคหนึ่ง ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของไทย อยู่บนที่ราบสูงโคราช มีแม่น้ำโขงกั้นเขตทางตอนเหนือและตะวันออกของภาค ทางด้านใต้จรดชายแดนกัมพูชา ทางตะวันตกมีเทือกเขาเพชรบูรณ์และเทือกเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นแยกจากภาคเหนือและภาคกลาง

การเกษตรนับเป็นอาชีพหลักของภาค แต่ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้ง รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ทางด้านสังคมเศรษฐกิจ ทำให้มีผลผลิตที่น้อยกว่าภาคอื่นๆ

ภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาอีสาน แต่ภาษาไทยกลางก็นิยมใช้กันแพร่หลายโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ขณะเดียวกันยังมีภาษาเขมร ที่ใช้กันมากในบริเวณอีสานใต้ นอกจากนี้ยังมีภาษาถิ่นอื่นๆ อีกมาก เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาโส้ ภาษาไทยโคราช เป็นต้น

ภาคอีสานมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น เช่น อาหาร ภาษา ดนตรีหมอลำ และศิลปะการฟ้อนรำที่เรียกว่า เซิ้ง เป็นต้น

ภาคอีสาน มีเนื้อที่มากที่สุดของประเทศไทย ประมาณ 170,226 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ หนี่งในสาม ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทย มีเทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูหลวง และภูกระดึง เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำ เช่น ลำตะคอง แม่น้ำชี แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำมูล

ภาษาไทยถิ่นอีสาน เป็นภาษาไทยถิ่นที่ใช้พูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใกล้เคียงกับภาษาลาว ในอดีตเคยเขียนด้วยอักษรธรรมล้านช้างหรืออักษรไทยน้อย ปัจจุบันเขียนด้วยอักษรไทย มีพยัญชนะ 20 เสียง สระเดี่ยว 18 เสียง สระประสม 2-3 เสียง บางท้องถิ่นไม่มีเสียงสระเอือ


ภาษาถิ่นอีสาน หมายถึง ภาษาถิ่นที่มีคนส่วนมากใช้พูดจากันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาษาถิ่นอีสาน นอกจากจะใช้พูดจากันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว ยังมีการพูดจากันในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวอีกด้วย
ฟังไกว ลี ได้แบ่งกลุ่มภาษาตระกูลไทย ในสาขาตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งประกอบด้วยภาษาในประเทศไทย ลาว อินเดีย และเวียดนาม ภาษาตระกูลไทนั้น ใช่ว่าจะใช้เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ยังมีการใช้ภาษาตระกูลไท ในต่างประเทศอีกหลายแห่ง แต่ละแห่งก็ได้ชื่อว่า เป็นภาษาถิ่นไททั้งนั้น เมื่อประมาณ 40 กว่าปีที่แล้วมา ท่านรองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ จากมณฑลยูนานกับคณะ ได้มาเยี่ยมวิทยาลัยครูมหาสารคาม ท่านได้บรรยายต่อที่ประชุมอาจารย์ด้วยภาษาถิ่นไท มณฑลยูนนาน ท่านได้แสดงอักษรไทยยูนนาน ให้พวกเราได้ดูได้อ่าน คณะครูอาจารย์ และนักศึกษาในสมัยนั้น สามารถฟังและอ่านได้อย่างเข้าใจด้วย
ภาษาถิ่นไทยยูนนาน มีความละม้ายคล้ายเหมือนกับภาษาถิ่นอีสานมาก โดยเฉพาะคำศัพท์ต่างๆ สำหรับตัวอักษรยูนนาน ก็คือ “อักษรไทลื้อ” นั่นเอง ลักษณะของอักษรไทลื้อ มีลักษณะใกล้เคียงกับอักษรไทยล้านนา และอักษรธรรมอีสานมาก กล่าวได้ว่า ผู้ที่อ่านอักษรไทล้านนาและอ่านอักษรธรรมอีสานได้ ก็สามารถที่จะอ่านอักษรไทลื้อได้
เป็นที่น่าสังเกตว่า คนไทยส่วนมาจะสามารถเข้าใจกัน ด้วยภาษาต่างถิ่นกันได้ เพราะ
1. มีศัพท์ร่วมตระกูลกัน (Cognate) เช่น ชื่อที่เรียกเครือญาติกัน พ่อ แม่ พี่ น้อง ศัพท์เกี่ยวกับร่างกาย เช่น แขน ขา มือ ตา ปาก ศัพท์ที่เกี่ยวกับกิริยาอาการ เช่น กิน นอน ไป มา คำที่เรียกชื่อสัตว์ต่างๆ เช่น หมู หมา เป็ด ไก่ การเรียกชื่อของใช้ในบ้าน เช่น มีด พร้า คราด ไถ และคำที่เป็นจำนวนนับ เช่น หนึ่ง สอง สาม เป็นต้น

2. มีเสียงปฏิภาค (Correspondence) ของระบบเสียงพยัญชนะ และเสียงวรรณยุกต์ จะออกเสียงแตกต่างกันอย่างมีกฎเกณฑ์ และ
เงื่อนไขระหว่างภาษาถิ่นด้วยกัน เช่น ภาษาถิ่นไทยกลาง มีเสียง ช (ช้าง) แต่ภาษาถิ่นอีสาน มีเสียง ส หรือเสียง ซ แทน ช้าง ภาคกลาง จะออกเสียงเป็น ซ่าง ในภาษาถิ่นอีสาน เป็นต้น



ภาษาไทยถิ่นอีสาน เป็นภาษาท้องถิ่นที่ใช้พูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่ง ในสำเนียงภาษาถิ่นของภาษาลาวซึ่งแบ่งเป็น 6 สำเนียงใหญ่ คือ:
1.ภาษาลาวเวียงจันทน์ ใช้ในท้องที่ เวียงจันทน์ บอลิคำไซ และในประเทศไทยท้องที่ จ.ชัยภูมิ หนองบัวลำภู หนองคาย (อ.เมือง ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ โพนพิสัย) ขอนแก่น (อ.ภูเวียง ชุมแพ สีชมพู ภูผาม่าน หนองนาคำ เวียงเก่า หนองเรือบางหมู่บ้าน) ยโสธร (อ.เมือง ทรายมูล กุดชุม บางหมู่บ้าน) อุดรธานี (อ.บ้านผือ เพ็ญ บางหมู่บ้าน)
2.ภาษาลาวเหนือ ใช้กันในท้องที่ เมืองหลวงพระบาง ไซยะบูลี อุดมไซ จ.เลย อุตรดิตถ์ (อ.บ้านโคก น้ำปาด ฟากท่า) เพชรบูรณ์ (อ.หล่มสัก หล่มเก่า น้ำหนาว) ขอนแก่น (อ.ภูผาม่าน และบางหมู่บ้านของ อ.สีชมพู ชุมแพ) ชัยภูมิ (อ.คอนสาร) พิษณุโลก (อ.ชาติตระการ และนครไทยบางหมู่บ้าน) หนองคาย (อ.สังคม) อุดรธานี (อ.น้ำโสม นายูง บางหมู่บ้าน)
3.ภาษาลาวตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้กันในท้องที่เมืองเซียงขวาง หัวพัน ในประเทศไทยท้องที่บ้านเชียง อ.หนองหาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี และบางหมู่บ้าน ใน จ.สกลนคร หนองคาย และยังมีชุมชนลาวพวนในภาคเหนือบางแห่งในจังหวัด สุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ ไม่กี่หมู่บ้านเท่านั้น
4.ภาษาลาวกลาง แยกออกเป็นสำเนียงถิ่น 2 สำเนียงใหญ่ คือ ภาษาลาวกลางถิ่นคำม่วน และถิ่นสะหวันนะเขด ถิ่นคำม่วน จังหวัดที่พูดในประเทศไทย เช่น จ.นครพนม สกลนคร หนองคาย (อ.เซกา บึงโขงหลง บางหมู่บ้าน) ถิ่นสะหวันนะเขด จังหวัดที่พูดมีจังหวัดเดียว คือ จ.มุกดาหาร
5.ภาษาลาวใต้ ใช้กันในท้องที่แขวงจำปาสัก สาละวัน เซกอง อัตตะปือ จังหวัดที่พูดในประเทศไทย จ.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร
6.ภาษาลาวตะวันตก ไม่มีใช้ในประเทศลาว เป็นภาษาที่ใช้ในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ท้องที่ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม และบริเวณใกล้เคียง
มลฑลร้อยเอ็ด ของประเทศสยาม
ในอดีตเคยเขียนด้วย
อักษรธรรมล้านช้างสำหรับเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมะหรือพระพุทธศาสนา หรือเขียนด้วยอักษรไทยน้อยสำหรับเรื่องราวทางโลก ปัจจุบันเขียนด้วยอักษรไทย มีพยัญชนะ 20 เสียง สระเดี่ยว 18 เสียง สระประสม 2-3 เสียง บางท้องถิ่นไม่มีเสียงสระเอือ

บทความนี้ อาจจะอ้างอิงหลักภาษาศาสตร์จนเกินไป บางทีอาจจะทำให้เกิดความรำคาญ ผมใคร่ขอยกตัวอย่าง “หน่วยอรรถ” ภาษาถิ่นไทยกลางมายกตัวอย่าง เปรียบเทียบกับ คำภาษาถิ่นอีสาน ดังต่อไปนี้


สนุก ภาษาถิ่นอีสาน ม่วน
ดู ภาษาถิ่นอีสาน เบิ่ง , แยง

อร่อย ภาษาถิ่นอีสาน แซบ
พบ ภาษาถิ่นอีสาน พ่อ
พูด ภาษาถิ่นอีสาน เว้า
ทิ้ง ภาษาถิ่นอีสาน ป๋ะ , ป่อย
กิ้งก่า ภาษาถิ่นอีสาน กะปอม

แก้วน้ำ ภาษาถิ่นอีสาน จอก , โจก (ขนาดใหญ่)
กางเกง ภาษาถิ่นอีสาน ส่ง
โกหก ภาษาถิ่นอีสาน ตั๋ว
กลางวัน ภาษาถิ่นอีสาน กางเว็น
กลางคืน ภาษาถิ่นอีสาน กางคืน

กลับ ภาษาถิ่นอีสาน เมือ , อ่วย
ขยัน ภาษาถิ่นอีสาน ดู๋

คางคก ภาษาถิ่นอีสาน คันคาก
คิดถึง ภาษาถิ่นอีสาน คึดฮอด
คอย ภาษาถิ่นอีสาน คอง , ถ่า
ปู่ ภาษาถิ่นอีสาน พอ – ใหญ่
ยาย ภาษาถิ่นอีสาน แม่ – ใหญ่
จิ้งจก ภาษาถิ่นอีสาน ขี้ – เจี้ยม

จมูก ภาษาถิ่นอีสาน ดัง
ฉางข้าว ภาษาถิ่นอีสาน เล่า – เข่า
ชอบ ภาษาถิ่นอีสาน มัก
เดิน ภาษาถิ่นอีสาน ญาง (ญ หญิง ออกเสียงทางโพรงจมูก)
ตะกร้า ภาษาถิ่นอีสาน กะ – ต่า (ต่า ออกเสียงวรรณยุกต์ตรีเพี้ยน)
ภาษาอีสาน - แปลเป็นภาษากลาง
กะซาง - ช่างเถอะ
กินเข่าสวย - รับประทานอาหารกลางวัน

กินดอง - เลี้ยงฉลองสมรส
กะจังว่า - ก็นั่นน่ะสิ
เกี้ยงตั๊บ - หมดเกลี้ยง
กัดแข้วบืน - กัดฟันสู้
กะด้อ กะเดี้ย - อะไรกันนักหนา
เกิบ - รองเท้าแตะ

ชาวอีสานสมัยใหม่ ส่วนมากจะใช้ภาไทยกลางกันอย่างคล่องแคล่ว ปัญหาการสื่อสารด้วยภาษาไทยกลางจึงไม่ค่อยจะมี ยุคข้อมูลข่าวสารสมัยนี้ช่วยส่งเสริมให้การใช้ภาษาของคนไทยมีเอกภาพกันแทบทุกหมู่เหล่า








ที่มา


http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/ww521/khwanchai/khwanchai-web2/content/Page3.html
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99_(%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2)
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=267348
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99

http://www.youtube.com/watch?v=rjrs5xil6ZU&feature=related

http://www.youtube.com/watch?v=IhH-fDVrOcw

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

ชนเผ่าต่างๆในภาคอีสาน

ชนเผ่าต่างๆในภาคอีสาน
1. ชาวไทยอีสาน
ชาวไทยอีสาน ในดีตกาลนั้น เป็นักตู้สู้ชีวิต สู้ทั้งกับภัยธรรมชาติ โรคภัยไข้เจ็บ เพราะผืนดินอีสานเป็น ภาคที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย การดูแลทางด้านสุขอนามัย ของทางภาครัฐ ไม่ค่อยทั่วถึง และหลายพื้นที่ในอดีตเป็นป่าดงดิบอยู่ห่างไกล ความเจริญถาพจาหนังสือ:มุกดาหาร
บุคคลิกและอุปนิสัย โดยเอกลักษณ์ นิสัยใจคอของชาวอีสานในอดีตส่วนใหญ่แล้ว เป็นคนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ดังจะเห็นได้ในหมู่บ้านของชาวอีสานจะมีซุ้มเล็กๆหรือเพิงเล็กๆปลูกไว้หน้าบ้านในซุ้มหรือเพิงเล็กๆนั้นจะมีตุ่มน้ำเย็นใสสะอาดพร้อมกระบวย ไว้ให้แขกต่างบ้าน หรือใครที่เดินผ่านไปมาได้ตักดื่มกินแก้กระหาย คนอีสาน เป็นกันเอง กับทุกคน เป็นคนจริงใจ ให้ความไว้วางใจไว้เนื้อเชื่อใจคนง่าย เพราะคนอีสานในอดีต จะเป็นชนที่ไม่ชอบพูดโกหก หรือพูดปดมดเท็จ ซื่อสัตย์ ปฏิบัติตามศีลห้าค่อนข้างจะเคร่งครัดในศีลธรรม ถ้าใครคนหนึ่งบอกกล่าวหรือเล่าอะไร ก็จะเชื่อตามไปเกือบทั้งหมด นี่เป็นสาเหตุหนึ่งของชนชาวอีสานในอดีตที่มักจะถูกหลอกลวงง่าย เพราะเชื่อว่าทุกคนให้ความจริงใจต่อกันและกัน ทำให้มิจฉาชีพบางกลุ่มอาศัยจุดนี้หลอกลวง ทำมาหากินบนความซื่อของชนชาวไทยอีสานมานักต่อนัก เอกลักษณ์เด่น อีกอย่างหนึ่งของชาวอีสานคือเป็นน้อมน้อมถ่อมตน มีความกตัญญูสูง ให้ความเคารพนับถือต่อบุพการีให้ความเครพผู้มีพระคุณและผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก จะได้ยิน ผู้มีอายุน้อยกว่าเรียกผู้สูงอายุในเกือบทุกพื้น ที่ว่า "พ่อคุณ" "แม่คุณ" คำว่า"คุณ" ที่ใ้ช้่เรียกชื่อผู้สูงอายุแทนการเรียกชื่อ กับคนที่รู้จักและไม่รู้จัก มีความหมายว่า "ผู้มีพระคุณ" คนอีสาน ระลึกเสมอว่า ผู้สูงอายุ เป็นผู้มีพระคุณต่อทุกคน เพราะผู้สูงอายุเป็นผู้มีประสบการ์ืการดำรงชีวิต และเป็นผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ชนรุ่นหลัง เสมอมา ชาวอีสาน เป็นชนที่ให้ความเคารพนับถือและปฏิบัติตน เป็นพุทธมามะกะที่ดียึดถือปฏิบัติมาตั้งแต่ในอดีตจนมาถึงปัจจุบันดังจะเห็นได้จากการ ทุกเทศกาลสำคัญของไทย ชนชาวไทยอีสานจะตั้งกองกฐิน ผ้าป่าไปทอดถวายพระที่บ้านเกิด เพื่อนำรายได้ไปสร้างวัดและบูรณะ ปฏิสังขร วัดวาอารามต่างๆที่บ้านเกิดเมืองนอน ของตนเองเป็นเนืองนิจ คนอีสานเมื่อไปเยี่ยมเยี่ยนเพื่อนบ้านต่างถิ่น สิ่งแรกที่จะมองหานั่นคือวัดวาอารามหากหมู่บ้าน แห่งหนตำบลได มีวัดวาอาราม และพระอุโบสถ( สิม )สวยงดงาม จะเป็นที่เชิดหน้าชูตาของหมู่บ้านนั้นๆ ความเชื่อ คนอีสานในอดีตกาลนั้น เนื่องจากเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ ไกปืนเที่ยง การดูแลทางด้านสุขอนามัยเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย คนอีสานจึงหันไปเพิ่งภูตผี คนอีสานนั้นเชื่ิอในเืรื่อง ผี เป็นทุนเดิมไม่ว่าจะเป็นผี ของปู่ ย่า ตา ยาย ผีป่า ผีเขา ผีปอบ ฯลฯ ในทุกวันนี้ความเชื่อในเรื่องผี ของชาวอีสานนั้นยังมีอยู่ยากที่จะลบล้างในความเชื่อนั้น ในขณะเดียวกันบนความเชื่อนั้นนอกจากจะเป็นการเตือนสติ ไม่ให้ประพฤติผิดปฏิบัติชั่วแล้ว ยังทำให้เกิดประเพณที่ดีงาม งานบุญต่างๆมากมาย กับคนอีสาน



คำว่า “ผู้ไทย” บางท่านมักเขียนว่า “ภูไท” ผู้ไทย คำว่า'ผู้" หรือ "พู้" เป็นสำเนียง ออกเสียงคำพูด ของคนภูไท( คนเขียน เรียบเรียง บึนทึกลงเว็บไซท์ เป็นคนภูไท โดยกำเนิด )แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตเขียนว่า “ผู้ไทย”ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวผู้ไทยอยู่ในแค้วนสิบสองจุไทย และแค้วนสิบสองปันนา (ดินแดนส่วนเหนือของลาว และ เวียดนาม ซึ่งติดต่อกับดินแดนภาคใต้ของจีน) ราชอาณาจักรไทยได้สูญเสียดินแดนสิบสองจุไทย ซึ่งอยู่ในเขตของลาวให้แก่ฝรั่งเศสเมื่อ ร.ศ.107 (พ.ศ.2431)เดิมชาวผู้ไทยแบ่งออกเป็น 2 พวกคือ1. ผู้ไทยดำ มีอยู่ 8 เมือง นิยมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีดำและสีคราม2. ผู้ไทยขาว มีอยู่ 4 เมือง อยู่ใกล้ชิดติดกับชายแดนจีนจึงนิยมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาวรวมผู้ไทยดำและผู้ไทยขาวมี 12 เมือง จึงเรียกดินแดนส่วนนี้ว่า "สิบสองจุไทย" หรือ "สองเจ้าไทย"

ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 (เจ้าองค์หล่อ) แห่งราชอาณาจักรเวียงจันทน์ ได้มีหัวหน้าชาวผู้ไทยซึ่งมีนามว่า พระศรีวรราช ได้มีความดีความชอบในการ ช่วยปราบกบฏในนครเวียงจันทน์จนสงบราบคาบกษัตริย์เวียงจันทน์ จึงได้ปูนบำเหน็จ โดยพระราชทานพระราชธิดาชื่อนางช่อฟ้า ให้เป็นภรรยา ในกาลต่อมาจึงได้แต่งตั้งให้บุตรซึ่ง เกิดจากพระศรีวรราชหัวหน้าชาวผู้ไทย และเจ้านางช่อฟ้ารวม 4 คนแยกย้ายกันไปปกครองหัวเมืองชาวผู้ไทย คือ เมืองสบแอก เมืองเชียงค้อ เมืองวัง เมืองตะโปน(เซโปน) พร้อมกับอพยพชาวผู้ไทยลงไปทางใต้ของราชอาณาจักรเวียงจันทน์(ปัจจุบันอยู่ในแขวงสุวรรณเขตของลาวติดชายแดนญวน)
ชาวภูไท
(เรียบเรียงจากบทพระนิพนธ์ ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระเจ้าประดิษฐาสารีในหนังสือชื่อพระราชธรรมเนียมลาวซึ่งพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2479 ซึ่งพระองค์เป็นพระราชธิดาของรัชกาลที่ 4และเจ้าจอมมารดาดวงคำ เจ้าจอมมารดาดวงคำ เป็นราชนัดดาของเจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์ ) ต่อมาชาวผู้ไทยได้ แยกย้ายออกไปตั้งเป็นเมืองพิน เมืองนอง เมืองพ้อง เมืองพลาน เมืองเชียงฮ่ม, เมืองผาบัง, เมืองคำอ้อคำเขียว เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันอยู่ในแขวงสุวรรณเขต ของลาว ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์ เป็นกบฎต่อกรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ.2369 เมื่อกองทัพไทยยกขึ้นไปปราบปรามจนสงบราบคาบแล้วทางกรุงเทพฯ มีนโยบายจะอพยพพวกผู้ไทย ข่า กะโซ่ กะเลิง ฯลฯ จากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้มาตั้งบ้านตั้งเมืองอยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง(ภาคอีสาน) เพื่อมิให้เป็นกำลังแก่เวียงจันทน์ และญวนอีกต่อไป จึงไปกวาดต้อนผู้คนซึ่งเป็นชาวผู้ไทยจากเมืองวัง, เมืองตะโปน, เมืองพิน, เมืองนอง, เมือง, เมืองคำอ้อคำเขียว ซึ่งอยู่ในแขวงสุวรรณเขตของลาวปัจจุบัน วึ่งยังเป็นอาณาเขตของพระราชอาณาจักรไทยอยู่ในขณะนั้นให้ข้ามโขงมาตั้งบ้านตั้งเมือง ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงในเขต เมืองกาฬสินธิ์, สกลนคร, นครพนมและมุกดาหาร คือ... มีหมู่บ้านเชื้อสายภูไท ร้อยกว่าหมู่บ้านประชากรเกือบ 1 ใน 4 เป็นชาวผู้ไทยซึ่งกระจัดกระจาย อยู่ในท้องที่เมืองต่าง ๆในอดีต คือ


1.เมืองเรณูนคร ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวัง มีนายไพร่รวม 2,648 คน ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวสาย เป็น "พระแก้วโกมล" เจ้าเมืองเรณูคนแรก ยกบ้านบุ่งหวายขึ้นเป็นเมืองเรณูนคร ขึ้นเมืองนครพนม คือท้องที่อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนมในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)

2. เมืองพรรณานิคม ตั้งในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยอพยบมาจากเมืองวัง จำนวน สองพันกว่าคน ไปตั้งอยู่ที่บ้านผ้าขาวพันนา ตั้งขึ้นเป็นเมืองพรรณานิคมขึ้นกับเมืองสกลนคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้างโฮงกลาง เป็น "พระเสนาณรงค์" เจ้าเมืองคนแรก ต่อมาได้ย้ายเมืองพรรณานิคมไปตั้งที่บ้านพานพร้าว คือท้องที่อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนครในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)
3.เมืองกุฉินารายณ์ ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยบมาจากเมืองวังจำนวน 3,443 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านกุดสิม ตั้งขึ้นเป็นเมือง "กุฉินารายณ์" ขึ้นเมืองกาฬสินธิ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ราชวงษ์เมืองวัง เป็น "พระธิเบศรวงษา" เจ้าเมืองกุฉินารายณ์, อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธิ์ (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)

4. เมืองภูแล่นช้าง ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวังจำนวน 3,023 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านภูแล่นช้าง ตั้งขึ้นเป็นเมือง "ภูแล่นช้าง" ขึ้นเมืองกาฬสินธิ์ ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้หมื่นเดชอุดมเป็น "พระพิชัยอุดมเดช" เจ้าเมืองคนแรก ปัจจุบันคือท้องที่อำเภอเขาวงกาฬสินธิ์ (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)

5. เมืองหนองสูง ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวังและเมืองคำอ้อคำเข ียว (อยู่ในแขวงสุวรรณเขต ดินแดนลาว) จำนวน 1,658 คน ตั้งอยู่บ้านหนองสูงและบ้านคำสระอี ในดงบังอี่ (คำสระอีคือหนองน้ำในดงบังอี่ ต่อมากลายเป็น คำชะอี) ตั้งเป็นเมืองหนองสูง ขึ้นเมืองมุกดาหาร ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวสีหนาม เป็น "พระไกรสรราช" เจ้าเมืองคนแรก เมืองหนองสูงในอดีตคือท้องที่ อ.คำชะอี (ตั้งแต่ห้วยทราย), อำเภอหนองสูงและท้องที่อำเภอนาแก ของจังหวัดนครพนมด้วย (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)

6. เมืองเสนางคนิคม ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองตะโปน (เซโปน) ซึ่งปัจจุบันอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในแขวงสุวรรณเข ต ติดชายแดนเวียตนาม อพยพมา 948 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านส่องนาง ยกขึ้นเป็นเสนางคนิคมขึ้นเมืองอุบลราชธานี ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวจันทร์จากเมืองตะโปน เป็น "พระศรีสินธุสงคราม" เจ้าเมืองคนแรก ต่อมาได้ย้ายไปตั้งเมืองที่บ้านห้วยปลาแดกและเมื่อยุ บเมืองลงเป็นอำเภอเสนางคนิคม ย้ายไปตั้งอำเภอที่บ้านหนองทับม้า คือ ท้องที่อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58หอสมุดแห่งชาติ)

7. เมืองคำเขื่อนแก้ว ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวัง จำนวน 1,317 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านคำเขื่อนแก้วเขตเมืองเขมราฐ ตั้งขึ้นเป็นเมืองคำเขื่อนแก้ว ขึ้นเมืองเขมราฐ ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวสีหนาท เป็น "พระรามณรงค์" เจ้าเมืองคนแรก เมื่อยุบเมืองคำเขื่อนแก้วได้เอานามเมืองคำเขื่อนแก้ วไปตั้งเป็นชื่ออำเภอที่ตั้งขึ้นใหม่ที่ตำบลลุมพุก คือ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธรในปัจจุบัน ส่วนเมืองคำเขื่อนแก้วเดิมที่เป็นผู้ไทย ปัจจุบันเป็นตำบลคำเขื่อนแก้ว อยู่ในท้องที่อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)

8. เมืองวาริชภูมิ ตั้งในสมัยราชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2420 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองกะปอง ซึ่งอยู่ในห้วยกะปองแยกจากเซบั้งไฟไหลลงสู่แม่น้ำโขง ในแขวงคำม่วนฝั่งลาว จึงมักนิยมเรียกผู้ไทยเมืองวาริชภูมิว่า "ผู้ไทยกระป๋อง" ผู้ไทยเมืองกระปองไปตั้งอยู่ที่บ้านปลาเปล้า แขวงเมืองหนองหาร จึงตั้งบ้านปลาเปล้าขึ้นเป็น "เมืองวาริชภูมิ" ขึ้นเมืองหนองหาร ต่อมาได้ย้ายเมืองไปตั้งที่บ้านนาหอยเขตเมืองสกลนคร จึงให้ยกเมืองวาริชภูมิไปขึ้นเมืองสกลนครคือท้องที่อ ำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนครในปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวพรหมสุวรรณ์ เป็น "พระสุรินทร์บริรักษ์" (จากเอกสาร ร.5 มท. เล่ม 15 จ.ศ.1240 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

9. เมืองจำปาชนบท ตั้งเมื่อรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2421 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพจากเมืองกะปอง ตั้งอยู่ที่บ้านจำปานำโพนทอง ตั้งขึ้นเป็นเมืองจำปาชนบท ขึ้นเมืองสกลนคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวแก้วเมืองกะปอง เป็น "พระบำรุงนิคม" เจ้าเมืองคนแรก ปัจจุบันคือท้องที่อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร (จากเอกสาร ร.5 มท. เล่ม 15 จ.ศ. 1240 หอสมุดแห่งชาติ) อ่านเพิ่มเติมในหนังสือ มุกดาหาร


ชาวข่า หรือ บรู
ข่า เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในจังหวัดมุกดาหาร ชาวข่ามีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแขวงสุวรรณเขตแขวงสาลวัน และแขวงอัตปือ ของลาว ซึ่งเมื่อร้อยปีก่อน (ก่อน พ.ศ. 2436) ยังเป็นดินแดนของราชอาณาจักรไทยชาวข่า อพยพมาตั้งอยู่ในท้องที่จังหวัดมุกดาหาร ในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นส่วนมากนักมานุษยวิทยาถือว่า ชาวข่าเป็นชนเผ่าหนึ่งในแถบลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งอาจสืบเชื้อสายมาจากขอมโบราณ ซึ่งเคยอยู่ในดินแดนของอาณาจักรเจนละซึ่งต่อมาเป็นอาณาจักรขอมและอาณาจักรศรีโคตรบรูณ์ซึ่งขอมเคยมีอิทธิพลครอบคลุมขึ้นมาถึงแล้วเสื่อมอำนาจลง ซึ่งพวกข่าอยู่ในตระกูลเดียวกับขอมและมอญเขมร

ภาษาข่า เป็นภาษาในตระกูล ออสโตรอาเซียติค สาขามอญ เขมร ชาวข่ายังแบ่งแยกกันอีก เป็นหลายเผ่าพันธุ์ เช่น ข่าย่าเหิน ข่าบริเวณ ข่าสุข่าตะโอย ข่าสอก ข่าสปวน ฯลฯเป็นต้น ชาวข่า มิได้เรียกตัวเองว่า ข่า แต่เรียกตัวเองว่าเป็น พวกบรู ซึ่งแปลว่า ภูเขา คำว่า ข่า เป็นชื่อที่ชาวอีสาน เรียกขานชาวบรู คำว่า ข่า อาจจะมาจากคำว่าข้าทาส ซึ่งชาวอีสานชอบเรียกชาวข้าทาสว่า ข่า หรือ ข่อย ซึ่งหมายถึง ข้า หรือ ทาส แต่ชอบออกเสียงไม้โทเป็นไม้เอกคือคำว่า ข้าเป็น ข่าเพราะว่าในอดีตชาวไทยในแถบลุ่มแม่น้ำโขง ชอบไปจับ เอาชาวข่า(บรู)ตามป่าดงมาเป็นข้าทาสในสมัยรัชกาลที่ 5จึงประกาศห้ามมิให้ไปจับพวกข่ามาเป็นข้าทาสอีกส่วนในประเทศเวียดนามเรียกพวกข่า ว่า พวกมอย (MOI)


ชาวข่าในสมัยโบราณเคยมีประวัติว่ามี ศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมที่สูงส่งมาก่อน มีความรอบรู้ในการประดิษฐ์ของใช้ในการดำรงชีวิต เช่น การปั้นไห การหล่อโลหะ (กลองมโหระทึก) นำหินมากรอฟัน ให้ราบเรียบสวยงามก่อนเครื่องมือทันตแพทย์สมัยนี้เสียอีก อันเป็นเอกลักษณ์ของพวกข่าชาวข่าดั้งเดิมมักจะมีผิวกายดำคล้ำ ผมหยิกทั้งหญิงและชาย ผู้ชายแต่งกายด้วยการนุ่งผ้าเตี่ยวมีผมม้ายาว ประบ่าและนิยมใช้ผ้าแดงผูกคล้องคอหรือโพกศรีษะเป็นเอกลักษณ์ตามประวัติเล่าว่า เนื่องจากบรรพบุรุษของชาวข่าได้ใช้ผ้าชุบเลือดสีแดงแนบติดกายไว้ก่อนสิ้นชีวิตในการต่อสู้แย่งชิงถิ่นที่อยู่ กับชาวผู้ไทยในอดีต ในดินแดนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง พวกข่าจึงถือว่าผ้าแดงเป็นเอกลักษณ์ของเขา ส่วนผู้หญิงนิยมแต่งกายด้วยการนุ่งผ้าซิ่นยาวถึงข้อเท้าแต่เปลือยอกท่อนบน ผู้ชายข่าเคยมีประวัติว่าเป็นนักรบที่ห้าวหาญ มีหน้าไม้พร้อมลูกดอกอาบยาพิษยางหน่อง (ยางไม้ที่มียาพิษรสชาติขม) เป็นอาวุธประจำกาย แม้ในสมัยที่ดินแดนลาวยังเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสอยู่ทหารข่าของฝรั่งเศสบางหน่วยยังนิยมใช้หน้าไม้เป็นอาวุธอยู่ ปัจจุบันในแขวงสุวรรณเขต แขวงสาละวันและแขวงอัตปือ ของลาว ก็ยังมีข้ารัฐการที่เป็นพวกข่ารับราชการอยู่ในตำแหน่งสูง ๆ อยู่ไม่น้อยในจังหวัดมุกดาหาร เขตอำเภอเมืองมุกดาหาร ยังมีชาวไทยเชื้อสายข่า อยู่ที่บ้านพังคอง บ้านนาเสือหลาย และบ้านหนองยาง ในท้องที่อำเภอดอนตาล มีชาวไทยเชื้อสายข่าอยู่ที่บ้านบาก ในท้องที่อำเภอดงหลวงมีชาวไทยเชื้อสายข่าอยู่ที่ ตำบลกกตูม บ้านสานแว้ บ้านคำผักกูด บ้านโคกกุง บ้านปากช่อง บ้านหินกอง ซึ่งในเขตภูพานต่อเขตกับจังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัด สกลนคร จนมีคำกล่าวในอดีตว่า บ้านคำผักแพว แปวป่องฟ้า พาเซโต โซไม้แก่นแท่นหินลับ ซับห้วยแข้ แง้หอยมะบาน ด่านสามหัวขัว น้ำบ่อบุ้น ยางสามต้น อ้นสามขุย ซึ่งปัจจุบันนิคมสร้างตนเองของกรมประชาสงเคราะห์ ที่อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหารได้อพยพพวกไทยข่า (บรู) จากภูพาน ซึ่งเป็นรอยต่อ 4 จังหวัด คือ กาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม และมุกดาหารจำนวน หลายร้อยครอบครัว ไปอยู่ที่ หมู่บ้านร่มเกล้า ของนิคมสร้างตนเองคำสร้อยโดยได้จัดสรรที่ดินให้ทำกินและปลูกบ้านเรือนให้เป็นหมู่บ้านชาวไทยข่าตลอดทั้งได้ช่วยเหลือให้ราษฏรเหล่านี้สามารถเลี้ยงตัวเองได้ และพัฒนาให้เป็นหมู่บ้านที่เท่าเทียมกับหมู่บ้านอื่น ๆ

วิถีชีวิตและอุปนิสัย ชาวไทยข่าเป็นชนเผ่าที่ขยันขันแข็ง หมั่นเพียรสูง มีความอดทน มีภษาพูดเป็นของตัวเอง ในอดีตนั้นภาษาของชาวไทยข่า ไม่มีโคลงเคล้าของภาษา อีสานปนอยู่เลย ชาวไทยข่านั้นเป็นชนเผ่ามีวิถีชิวิตที่เรียบง่ายไม่ค่อยออกพบปะกับชาวตางถิ่นมากนัก ค่อนข้างจะเก็บตัวอยู่ในเผ่าของตัวเอง ไม่ค่อยไว้เนื้อเชื่อใครง่ายนักโดยเฉพาะคนแปลกหน้าจากต่างถิ่น แต่ถ้าคนไหนเป็นที่ไว้วางใจและเชื่อใจจากชาวไทยข่า ก็จะได้มิตรไมตรี และมิตรแท้ เหมือนเป็นสมาชิกคนหนึ่งของครอบครับของชาวข่า และสามารถตายแทนกันได้ ฉะนั้นหากคนแปลกหน้าต่างถิ่นเข้าไปในชุมชนของชาวไทยข่า ถ้าต้องการมิตรแท้จากชนเผ่าจะต้องพกเอาความรักความจริงใจ เข้าพบปะกับชนเผ่าและจะได้ มิตรแท้ และไมตรีจิตกลับมาอย่างแน่นอน
จารีตประเพณีของชาวข่า (บรู) การสู่ขอเพื่อขอแต่งงานต้องมีล่าม 4 คน(ชาย 2 หญิง 2) เทียน4 เล่ม และเงินหนัก 5 บาท เมื่อแต่งงานต้องมีเหล้าอุ(เหล้าไห) 2 ไห ไก่ 2 ตัว ไข่ 8 ฟอง เงินหนัก 2 บาทหมู 1 ตัว และกำไรเงิน 1 คู่การทำผิดประเพณี (ผิดผี) เช่น ห้ามลูกสะใภ้ เข้าห้องนอนก่อนผัว ห้ามลูกสะใภ้รับของจากพ่อผัวห้ามลูกเขยที่เข้าออกในบ้านออกจากห้องหนึ่งไปยังอีกห้องหนึ่ง ลูกเขยพกมีดหรือสวมหมวกเข้าบ้านพ่อตา หรือกินข้าวร่วมกับแม่ยาย การผิดจารีตประเพณี(ผิดผี)เช่นนี้ ลูกเขยต้องใช้เงิน 5 บาท หมู 1 ตัว ดอกไม้ธูปเทียน 2 คู่บุหรี่พื้นบ้านมวนด้วยใบตอง 2 มวนหมากพลู 2 คำ นำไปคารวะต่อผี (วิญญาณ)ของบรรพบุรุษที่มุมบ้านด้านตะวันออก หรือที่เตาไฟหากเป็นลูกสะใภ้ก็ต้องใช้ผ้าขาวม้า 1 ผืน ผ้าซิ่น 1 ผืน ดอกไม้ธูปเทียน 2 คู่ หมากพลู2 คำ บุหรี่ใบตอง 2 มวน ไปคารวะ ต่อผีช่นเดียวกัน



ไทกะโซ่ไทกะโซ่ หรือไทยกะโซ่ หรือโซ่ ในพจนานุกรมฉบัับราชฐานบัณฑิตสถาน เขียนว่า กะโซ่แต่ก็ยังมีผู้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นพวกเดียวกันกับลาวโซ่ง ในจังหวัดเพชรบุรี ,นครปฐมและสุพรรณบุรี แต่แท้จริงแล้ว ลาวโซ่งคือพวก ไทยดำ ที่อพยพมาจากเมืองแถน หรือเดียน เบียนฟู ในสมัยกรุงธนบุรี ส่วนคำว่ากะโซ่ หมายถึง ข่าพวกหนึ่งในตระกูลมอญเขมรกะโซ่ตามลักษณะและชาติพันธ์ถือว่าอยู่ในกลุ่มมองโกลอยด์ กะโซ่มีภาษา และวัฒนธรรมแตกต่างไปจากพวกข่าอยู่บ้าง เล็กน้อย แตภาษาของกะโซ่ ยังถือว่าอยู่ในตระกูล ออสโตรอาเซียติค สาขามอญเขมรหรือ กะตุ ( Katuic)

ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวกะโซ่ อยู่ที่เมืองมหาชัย แขวงคำม่วน และแขวงสุวรรณเขตของประเทศลาว ส่วนข่าอีกพวกหนึ่งที่อพยพมาจากแขวงอัตปือของลาวไปอยู่ในจังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ เรียกว่า ส่วย หรือ กุยพูดภาษาเดียวกันกับพวกกะโซ่ พวกกะโซ่ที่อพยพข้ามแม่น้ำโขงมาในสมันรัชกาลที่ ๓ ได้ตั้งบ้าน ตั้งเมืองหลายเมือง คือ ๑. เมืองรามราช เป็นชาวกะโซ่จากเมืองเชียงฮ่ม ( อยู่ในแขวงสุวรรณเขตของลาว )ตั้งขึ้นเป็นเมืองรามราชขึ้นกับเมืองนครพนม เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๗ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ท้าวบัวจากเมืองเชียงฮ่ม เปพระอุทัยประเทศ เจ้าเมือง ปัจจุบันยุบรวมเป็นตำบล รามราชขึ้นอำเภอท่าอุ้ทน จังหวัดนครพนม๒ เมืองกุสุมาลย์มณฑล เป็นชาวกะโซ่ที่อพยพมาจากเมืองมหาชัย ( อยู่ในแขวงคำม่วนของลาว) อพยพมาตั้งอยู่ที่ บ้านกุดสมาร ตั้งขึ้นเป็นเมือง กุสุมาลย์มณฑล ขึ้นเมืองสกลนคร เมื่อ พ .ศ .๒๓๘๗ ทรงพระกรุณาปรดเกล้า ให้ตั้งเพี้ยเมืองสูง หัวหน้าชาวกะโซเป็น พระอรัญอาษา เจ้าเมือง ปัจจบันคือท้องที่ อำเภอ กุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร นอกจากนี้ยังมีชาวกะโซ่อยู่ในท้องที่ อำเภอปาปาก จังหวักนครพนมอีกเช่นที่ตำบลโคกสูง และที่บ้านวังตามัว เขตอำเภอเมืองนครพนม ในจังหวัดมุกดาหารมีชาวกะโซอยู่ในท้องที่อำเภอดงหลวง เป็นส่วนมาก อพยพเข้ามาในรัชกาลที่ ๒ เมื่อ พ.ศ ๒๓๕๙ หัวหน้าชาวกะโซ่ อำเภอดงหลวงต่อมาได้เป็นกำนันซึ่งบรรดาศักดิ์ว่า หลวงวาโนไพรพฤกษ์ ชาวกะโซในอำเภอดงหลวง ส่วนมาก จะใช้นามสกุลเดียวกันหมดคือ วงศ์กะโซ่ วัฒนธรรมของชาวกะโซ่ ที่ยังรักษาไว้เป็นเอกลักษณ์ประจำเชื้อชาติที่เด่นชัดก็คือ พิธีกรรมโซ่ถั่งบั้ง หรือสลา เป็นพิธีกรรมในการบวงสรวงดวงวิญญาณของบรรพบุรุษประจำปีหรือการเรียกขวัญรักษาคนเจ็บไข้ และพิธีกรรม ซางกระมูด ในงานศพ
พิธีกรรมของชาวกะโซ่๑. พิธีกรรมโซ่ถั้งบั้ง เป็นพิธีกรรมของชาวกะโซ่ คำว่า โซ หมายถึงชาวกะโซ่ คำว่าถั่ง หมายถึง กระทุ้ง หรือกระแทก คำว่าบั้ง หมายถึง บ้องหรือกระบอกไม้ไผ่ โซ่ถั่งบั้งคือพิธีกรรมที่ใช้กระบอกไม้ไผ่ยาวประมาณ ๓ ปล้อง กระทังดินเป็นจังหวะ มีการร่ายรำและร้องรำ ไปตามจังหวะ ซึ่งเสด็จพระบรมวงษ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้เสด็จตรวจราชการภาคอีสาน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ เมื่อเสด็จถึงเมืองกุสุมาลย์ ( อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ) ซึ่งเป็นชาวกะโซ่ได้ทรงบันทึกการแสดง โซ่ถั่งบั้ง หรือ สลา ในการรับเสด็จว่า “ ...สลามีหม้อดินตั้งกลางแล้ว มีคนต้นบทคนหนึ่ง คนสพายหน้าไม้และลูกสำหรับคนยิงคนหนึ่ง คนตีฆ้องเรียกว่า พะเนาะคนหนึ่ง คึนถือไม้ไผ่สามปล้องสำหรับกระทุ้งดินเป็นจังหวะสองคน คนถือชามสองมือสำหรับติดเทียนรำคนหนึ่ง คนถือตะแกรงขาดสองมือสำหรับรำคนหนึ่ง คนถือสิ่วหักสำหรับเคาะจัวหวะคนหนึ่ง รวม ๘ คน เดินร้องรำเป็นวงเวียนไปมาพอได้พักหนึ่งก็ดื่มอุและร้องรำต่อไป...”๒.พิธีซางกระมูด เป็นพิธีกรรมของชาวกะโซ่ก่อนนำศพลงจากบ้านเรือน คำว่า ซาง หมายถึง การกระทำหรือจักดระเบียบ กระมูด แปลว่า ผี ซางกระมูดหมายถึงการจัดพิธีเกี่ยวกับคนตาย ชาวกะโซ่ถือว่าเมื่อ คนตายไปแล้วจะเป็นผีดิบ จึงต้องกระทำพิธีซางกะมูดเสียก่อนเพื่อให้ผีดิบหรือและวิญญาณของผผู้ตายได้สงบสุข มิฉะนั้นอาจทำให้ญาติพี่น้องของผู้จายเจ็บป่วยได้อีก

5. ชาวไทยกะเลิง
ไทยกะเลิง
คำว่า กะเลิง มาจากคำว่า ข่าเลิง หมายถึง ข่าพวกหนึ่งในตระกูลมอญเขมร ข่า กะโซ่และกะเลิง อยู่ในตระกูลเดียวกัน ภาษาพูดอยู่ในตระกูล ออสโตรอาเซียติค ถิ่นกำเนิดของชาวกะเลิงอยู่ในแขวงคำม่วน และแขวงสุวรรณเขต ของลาว อพยพข้ามโขงมาอยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงในสมัยรัชกาลที่ 3 หลังจากการปราบกบฏเจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์แล้ว ส่วนใหญ่จะอยู่ในท้องที่จังหวัดสกลนคร นครพนม และ

จังหวัดมุกดาหารในอดีตผู้ชายกะเลิงชอบสักรูปนกแก้วที่แก้ม และปล่อยผมยาวประบ่า ส่วนผู้หญิงเกล้ามวยผม ปัจจุบันผู้ชายกะเลิงที่สักขาลายตั้งแต่ข้อเท้า ขึ้นไปถึงบั้นเอว ยังมีหลงเหลืออยู่บ้างในท้องที่อำเภอดอนตาล เช่นที่ตำบลนาสะเม็ง และในท้องที่อำเภอคำชะอี ที่ตำบลบ้านซ่ง บางหมู่บ้านตำบลเหล่าสร้างถ่อ บางหมู่บ้าน และที่บ้านโนนสังข์ บ้านนาหลวง จังหวัดมุกดาหาร ชาวกะเลิงมีผิวกายดำคล้ำผมหยิกเช่นเดียวกับพวกข่า และกะโซ่ อยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์ มองโกลอยด์ ตามตำนานเล่าว่าเมื่อครั้งขุนทั้งสามผู้เป็นใหญ่ คือ ขุนเค็ก ขุนคาน และปู่ลางเซิน ได้ขอร้องต่อพญาแถน ซึ่งถือว่าเป็นเทพเจ้าผู้คุ้มครองโลกตามความเชื่อของชาวอีสาน ซึ่งขุนทั้งสามขอกลับลง ไปอยู่ใน
โลกมนุษย์โดยอ้างว่า “......ข้อยนี้ก็อยู่เมืองบนก็บ่แก่น แล่นเมืองฟ้าก็บ่เป็น.....” พญาแถนจึงให้ลงมาเกิดที่เมืองมนุษย์ที่ เมืองแถน หรือ เมืองน้ำน้อย อ้อยหนู ซึ่งอยู่ในแค้วนสิบสองจุไทย พร้อมกับได้ส่งควายให้ลงมาเกิดในเมืองแถนด้วย เพื่อจะได้ใช้ทำไร่ไถนาหาเลี้ยงชีพต่อมาควายได้ตาย ซากของควายเกิดเป็น น้ำเต้าปุง ต่อมาในน้ำเต้าปุงได้เกิดเป็นมนุษย์ขึ้นหลายเผ่าพันธุ์ มนุษย์เหล่านั้นร่ำร้องอยากออกมาสู่โลกมนุษย์ ขุนทั้งสาม จังเอาเหล็กซี(เหล็กปลายแหลมเผาไฟ) เจาะรูน้ำเต้าปุง เพื่อให้มนุษย์เล่านั้นออกมามนุษย์พวกแรกที่ออกมาคือ พวกข่า กะโซ่ กะเลิง แต่เนื่องจากเหล็กซีที่เผาไฟเจาะรูน้ำเต้าปุง เต็มไปด้วยคราบเขม่าไฟสีดำ พวกข่า กะโซ่ กะเลิง ที่ออกมาจากน้ำเต้าปุงก่อนเผ่าอื่น ๆ จึงมีผิวดำคล้ำมอมแมมต่อมาถึงลูกหลานทุกวันนี้ แต่ยังมีเผ่าอื่น ๆ ที่ยังเหลืออยู่ในน้ำเต้าปุงอีกมาก ขุนทั้งสามจึงใช้สิ่วเจาะรูน้ำเต้าปุงให้กว้างยิ่งขึ้น เผ่าอื่น ๆ รุ่นหลังที่ออกมา เช่น ไทยเลิง ไทยลอ ไทยกวางฯลฯ ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของไทย ลาว ผู้ไทย ที่ออกมารุ่นหลังนี้ได้รีบไปอาบน้ำชำระร่างกาย ในหนองน้ำศักดิ์สิทธิ์จึงมีผิวกายขาวผ่องยกเว้น พวก ข่า กะโซ่ และกะเลิง ซึ่งออกมารุ่นแรกจากน้ำเต้าปุงที่เจาะด้วยเหล็กซีเผาไฟ จึงมีคราบเขม่าไฟติดตามร่างกายและกลัวความหนาวเย็นไม่ยอมไปอาบน้ำชำระร่างกาย จึงมีผิวดำคล้ำแทบทุกคนถึงอย่างไร ก็ตามพวกข่า กะโซ่ และกะเลิงก็ออกมาจากน้ำเต้าปุงก่อนเผ่าอื่น ๆ จึงถือว่าเป็นพี่ใหญ่(อ้ายกก) ย่อมมีสติปัญญาเหนือกว่าเผ่าอื่น ๆ ตามตำนานยังเล่าว่าพวกข่า กะโซ่ และกะเลิง เคยมีตัวหนังสือมาตั้งแต่อดีต โดยจารึกตัวหนังสือไว้ในหนังควาย แต่ว่าพวกข่า กะโซ่ และกะเลิงได้ทำสงครามแย่งชิงถิ่นที่อยู่กับชาวผู้ไทยมาตลอดจนแม่ทัพนายกองสิ้นชีวิตไปหลายคน ในระหว่างทำสงคราม ได้ถูกสุนัขลักลอบเข้าไป ในวังของกษัตริย์ แล้วคาบเอาหนังควายที่จารึกอักษรข่า กะโซ่ และ กะเลิงไปกินเป็นอาหารเสียสิ้น พวกข่า กะโซ่ และกะเลิงจึงไม่มีหนังสือขีดเขียนเป็นอักษรของตนอีก

วิถีชีวิตและอุปนิสัย ชาวกะลิง ความเป็นอยู่และอุปนิสัยคล้าย ชาวไทย ข่า คือมีความมุ่งมั่น ขยันขันแข็ง มีความรักและจริงใจต่อ เพื่อน



แสก คือ คนไทยกลุ่มหนึ่งที่มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ที่ เมืองแสก เมืองแสกปัจจุบันเป็นเมืองร้าง อยู่บริเวณบ้านหนาดบ้านตอง ในแขวงคำม่วนของดินแดนลาว และอยู่ห่างจากชายแดนเวียดนามประมาณ 20 กิโลเมตร(จากเอกสาร ร.5 ม,212 ก.หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)เมืองแสกเคยอยู่ในพระราชอาณาจักรไทย ก่อน ร.ศ.112 (พ.ศ.2436) เป็นภาษาไทยลาว ปนญวน เพราะว่าอยู่ใกล้ชิดติดกับเขตแดนญวนและมีขนบธรรมเนียมของญวน (เวียดนามปะปนอยู่ด้วยเช่น ตรุษแสกหรือตรุษญวน (กินเตดหรือ กินเตนเคน) ในวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 3 เพื่อบวงสรวงดวงวิญญาณของ เจ้าองค์มู (องค์มู –เป็นชื่อในภาษาญวน) ซึ่งชาวแสกถือว่าเป็นบรรพบุรุษที่ช่วยคุ้มครองรักษาชาวแสกให้ปราศจากภยันตรายทั้งปวงชาว แสกเคยมี ประวัติว่าเป็นนักรบที่ห้าวหาญ ในสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) แม่ทัพไทยซึ่งยกทัพไปปราบปรามเจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์ และไปตั้งทัพอยู่ที่เมืองนคร ได้แต่งตั้งให้ ฆานบุดดี หัวหน้าชาวแสกเป็น หัวหน้ากองอาทมาต

เป็นกองลาดตะเวนรักษาชายแดนพระราชอาณาเขตซึ่งติดกับเขตแดนญวน ต่อมาได้อพยพชาวแสกให้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเมืองนครพนม เมืองสกลนคร และเมืองมุกดาหารทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ฆานบุดดีเป็น หลวงตาเอกอาษา เจ้าเมืองอาทมาตขึ้นเมืองนครพนม เมื่อ พ.ศ.2387 ในสมัยรัชกาลที่ 3(จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)ไทยแสกได้กระจัดกระจายอยู่ในท้องที่ เมืองสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร ผู้หญิงแสกนิยมการแต่งกายที่แปลกกว่าที่ชาวอีสานทั่วไป คือ นุ่งผ้าซิ่นสองชั้นและปล่อยให้ผ้าซิ่นชั้นในแลบออกมา เป็นเอกลักษณ์ของผู้หญิงชาวแสก ศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวแสก คือ แสกเต้นสาก หรือ รำลกระทบไม้ แม้ในปัจจุบันก็ยังนิยมเล่นกันอยู่ในเทศกาลเดือน 3 (ตรุษแสก) ทุกปี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงเล่าถึงการแสดงแสกเต้นสาก เมื่อ เสด็จตรวจราชการเมืองนครพนม เมื่อพ.ศ. 2449 ไว้ว่า “เขาพาพวกผู้หญิงแสกมาเล่นให้ฉันดูอย่างหนึ่งเรียกว่า แสกเต้นสาก มีผู้หญิง 10 คู่ นั่งหันหน้าเข้าหากันเรียงเป็นแถว แต่ละคนถือปลายไม้พลองมือละอันทั้งสองข้าง วางไม้พลองบนไม้ขอนที่วางทอดไว้ตรงหน้าสองท่อนมีทางอยู่ตรงกลาง เวลาเล่น 10 คู่ นั้น ขับร้องแล้วเอาไม้พลองที่ถือลงกระทบไม้ขอนพร้อม ๆ กันเป็นจังหวะ จังหวะหนึ่ง จังหวะสอง ไม้พลองห่างกัน จังหวะที่สามรวบไม้พลองเข้าชิดกัน มีผู้หญิงสาว 4 คน ผลัดกันเต้นทีละคู่ เต้นตามจังหวะไปในระหว่างช่องไม้พลองที่คนถือนั้น 10 คู่ ต้องระวังเมื่อถึงจังหวะที่สาม อย่าให้ไม้พลองหนีบข้อตีน กระบวนเล่นมีเท่านี้....”




ไทยย้อเป็นชาวไทยในภาคอีสานอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมักเรียกตัวเองว่า ไทยย้อ เช่น ชาวย้อในจังหวัดสกลนคร , ชาวย้อ ในตำบลท่าขอนยาง(เมืองท่าขอนยาง) อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม , ชาวย้อ ในอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม และชาวย้อในตำบลดงเย็น อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหารภาษาและสำเนียงของชาวย้ออาจผิดเพี้ยนไปจากชาวอีสานทั่วไปบ้างเล็กน้อย ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวย้อ มีผู้ค้นพบว่าเดิมอยู่แคว้นสิบสองปันนา หรือ ยูนาน ต่อมาชาวย้อบางพวกได้อพยพลงมาตามลำน้ำโขง เพื่อเลือกหาที่ตั้งบ้านตั้งเมืองที่อุดมสมบรูณ์กว่าที่อยู่เดิมจนในที่สุดชาวย้อกลุ่มหนึ่งได้พบว่าตรงปากน้ำสงครามริมฝั่งโขงเป็นที่อุดมสมบรูณ์มีปลาชุกชุม จึงได้จัดตั้งขึ้นเป็นเมืองไชยบุรีเมื่อ พ.ศ.2350 (สมัยราชกาลที่ 1)
ต่อมาเมื่อเจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์เป็นกบฏต่อกรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ. 2369 ไทยย้อเมืองไชยบุรีถูกกองทัพเจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์กวาดต้อนให้อพยพข้ามโขงไปด้วย โดยให้ไปตั้งอยู่ที่เมืองหลวงปุงเลง เมืองคำเกิด เมืองคำม่วน ในแขวงคำม่วน ของลาว ต่อมากองทัพไทย ได้กวาดต้อนให้ไทยย้อ ให้อพยพข้ามโขง กลับมาอีกครั้งหนึ่ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไทยย้อกลุ่มหนึ่งตั้งขึ้นเป็นเมืองท่าอุเทน เมื่อ พ.ศ.2373 ให้ไทยย้อที่อพยพข้ามโขงมาตั้งที่บ้านท่าขอนยาง เป็นเมืองท่าขอนยาง ขึ้นเมืองกาฬสินธุ์ (ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม)ให้ท้าวคำก้อนจากเมืองคำเกิดเป็นพระสุวรรณภักดี เจ้าเมืองท่าขอนยาง จึงมีไทยย้อ ที่ตำบลท่าขอนยาง บ้านกุดน้ำใส บ้านยาง บ้านลิ้นฟ้า บ้านโพน และยังมีไทยย้อที่บ้านนายุง จังหวัดอุดรธานี บ้านกุดนางแดง บ้านหนามแท่งอำเภอพรรณานิคม บ้านจำปา บ้านดอกนอ บ้านปุ่งเป้า บ้านนาสีนวน อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร บ้านโพนสิม บ้านหนองแวง บ้านสา อำเภอยางตลาด บ้านหนองไม้ตาย อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ไทยย้อเมืองสกลนคร อพยพมาจากเมืองมหาชัย (แขวงคำม่วนของลาว) มาตั้งอยู่ริมน้ำหนองหานสมัยรัชกาลที่ 3 ตั้งขึ้นเป็นเมืองสกลนครเมื่อ พ.ศ.2381(จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1200 เลขที่ 10 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)ในจังหวัดมุกดาหารมีไทยย้อที่อพยพมาจากเมืองคำม่วนตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลดงเย็น อำเภอเมืองมุกดาหาร และอยู่ในท้องที่อำเภอนิคมคำสร้อยอีกหลายหมู่บ้าน

คำว่า “กุลา” มาจากภาษาพม่าซึ่งแปลว่า คนต่างถิ่น กุลา คือพวกเงี้ยวหรือตองซู่ในรัฐไทยใหญ่ของพม่า เงี้ยวหรือตองซู่ เมื่อเดินทางมาค้าขายในภาคอีสานถูกชาวอีสานในอดีตเรียกขาน และตั้งชื่อให้ใหม่ว่าพวก “กุลา”คำว่า “กุลา” เดิมหมายถึง พวกแขกบังคล่า (บังคลาเทศ ในปัจจุบัน) ต่อมาเมื่อเห็นพวกไทยใหญ่
หรือเงี้ยวรูปร่างสูงใหญ่นุ่งกางเกงขายาวปลายบาน โพกศีรษะทรงสูงเข้ามาค้าขายในภาคอีสานก็เลยเข้าใจผิดคิดว่าเป็นพวกเดียวกับพวกแขกบังคล่าจึงเรียกพวกไทยใหญ่หรือเงี้ยวว่ากุลา ต่อมาเมื่อเห็นพวกแขกขาวเช่นมาจาก อาฟกานิสถาน อิหร่าน ฯลฯก็เลยเรียกว่าพวกกุลาขาว และเรียกพวกมาจากบังคลาเทศ จากอินเดีย และจากพม่าว่ากุลาดำพวกเงี้ยว หรือกุลาชอบเร่ร่อนมาค้าขายในภาคอีสานจนมีชื่อเป็น อนุสรณ์ว่าทุ่งกุลาร้องไห้ พวกกุลาชอบนำเอาผ้าแพรพรรณ หรือ เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิตตลอดทั้งเครื่องทองเหลือง เช่น ฆ้อง มีด ดาบ ฯลฯ มาเร่ขายในภาคอีสาน แล้วซื้อวัว ควาย กลับไปพม่า กุลาบางพวก ได้ตั้งรกรากแต่งงานกับชาวไทยอีสานและผู้ไทย เช่น ที่เมืองเรณูนคร ตำบลแสนพัน อำเภอธาตุพนมและที่เมืองหนองสูง เขตเมืองมุกดาหาร จนมีบุตรหลานสืบเชื้อสายต่อมากุลาเหล่านี้ ี้ในอดีตมีสัญชาติ และอยู่ในบังคับในอดีตเรียกว่าอยู่ในสัปเยกต์ (SUBJECT-บังคับ)ของอังกฤษ เพราะพม่าเป็นอาณานิคมของอังกฤษ เมื่อกุลาเกิดคดีความขึ้น ต้องรายงานให้สถานทูตอังกฤษทราบทุกครั้งกุลามีรูปร่างสูงใหญ่ชอบนุ่งโสร่งหรือกางเกงขายาวปลายบานถึงข้อเท้าและโพกศีรษะทรงสูงในสมัยรัชกาลที่ 5 กุลาหรือเงี้ยวนำฝิ่นมาค้าขายอยู่ในเขตเมืองหนองสูง เขตเมืองมุกดาหารเป็นจำนวนมากต่อมาได้ตั้งรกรากอยู่ที่ทุ่งหมากเฒ่า เมืองหนองสูง ไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมาย บ้านเมือง และก่อการจลาจลขึ้นที่ทุ่งหมากเฒ่า เมืองหนองสูง ไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมือง และก่อการจลาจลขึ้นที่ทุ่งหมากเฒ่า เมื่อ พ.ศ. 2446 ทางเมืองมุกดาหารต้องขอกำลังจากมณฑลอุดรมาช่วยปราบปราม เมื่อปราบปรามเสร็จแล้วจึงแยกย้ายพวกกุลาให้แยกกันออกไปตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเมืองหนองสูง รวมทั้งในเขตอำเภอคำชะอี หลายหมู่บ้าน ส่วนบริเวณทุ่งหมากเฒ่า ต่อมาได้ตัดแบ่งเขตให้ไปอยู่ในเขตอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นเป็นหมู่บ้านขุมขี้ยาง ในปัจจุบัน

ที่มา


อาหารของคนภาคอีสาน

อาหารของคนภาคอีสาน

เป็นดินแดนที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ทำให้อาหารพื้นเมืองจึงเป็นอาหารพวกแมลงหลายชนิด ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนที่หล่อเลี้ยงชีวิตประชากรในภาคนี้
อาหารอีสานส่วนใหญ่จะมีข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก ส่วนพืชผัก และเนื้อสัตว์ที่นำมาใช้ประกอบอาหารได้มาจากภายในท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่
อาหารอีสานมักใช้ปลาร้าเป็นเครื่องปรุงรสในอาหารเกือบทุกชนิด แต่ไม่นิยมใส่ในอาหารประเภทผัด และมักรับประทานคู่กับผักสด



อาหารภาคอีสาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) มีรสชาติเด่น คือ รสเค็มจากน้ำปลาร้า รสเผ็ดจากพริกสด พริกแห้ง รสเปรี้ยวจาก ผักพื้นบ้าน เช่น มะขาม มะกอก

อาหารส่วนใหญ่มีลักษณะแห้ง ข้น มีน้ำขลุกขลิก แต่ไม่ชอบใส่กะทิ คนอีสานใช้ปลาร้าเป็นเครื่องปรุงอาหารแทบทุกชนิด เช่น ซุปหน่อไม้ อ่อม หมก น้ำพริกต่างๆ รวมทั้งส้มตำ

อาหารอีสานที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ ปลาร้าบ้อง อุดมด้วยพืชสมุนไพร เช่น ข่า ตะไคร้ หอมแดง กระเทียม ใบมะกรูด มะขามเปียก หรืออย่างแกงอ่อม ที่เน้นการใช้ผัก หลายชนิดตามฤดูกาลเป็นหลัก รสชาติของแกงอ่อมจึงออกรสหวานของผักต่างๆ รสเผ็ดของพริก กลิ่นหอมของเครื่องเทศและผักชีลาวหรืออย่างต้มแซบ ที่มีน้ำแกงอันอุดมด้วยรสชาติและกลิ่นหอมของของเครื่องเทศและผักสมุนไพรเช่นกัน

คนอีสานจะรับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก และโดยทั่วไปจะนึ่งข้าวเหนียวด้วยหวด หวด คือภาชนะที่เป็นรูปกรวย ทำด้วยไม้ไผ่ ซึ่งจะต้องใช้คู่กับหม้อทรงกระบอก

เครื่องปรุงรสในอาหารอีสาน



ปลาร้า
คนอีสานจะทำปลาร้ารับประทานในบ้าน ไม่นิยมซื้อ เมื่อสมาชิกในบ้านออกหาปลา จับกบ ซึ่งอาจจะได้ปลามาก เหลือรับประทานก็จะทำปลาร้า ปลาตากแห้ง เป็นการถนอมอาหารไว้รับประทานในมื้ออื่น ๆ ปลาร้าเป็นเครื่องปรุงรสในอาหารอีสานเกือบทุกชนิด ใช้ใส่ผสมได้ทั้งแกง หมก อ่อม น้ำพริกต่าง ๆ แต่ไม่นิยมใส่ในอาหารประเภทผัด

ข้าวเบือ
คือการนำข้าวเหนียวมาแช่น้ำไว้สักพักใหญ่ ให้เมล็ดข้าวเหนียวอ่อนนุ่ม สงให้สะเด็ดน้ำ แล้วนำมาโขลกให้ละเอียด ใช้ในอาหารหลายอย่าง เช่น หมกหน่อไม้ แกงย่านาง แกงอ่อม ข้าวเบือจะช่วยให้อาหารหนืดเหนียว น่ารับประทาน

ข้าวคั่ว




คือการนำข้าวเหนียวข้าวสาร และควรเป็นข้าวสารใหม่ คั่วในกระทะ ใช้ไฟอ่อน คั่วให้ทั่ว พลิกไปมาจนข้าวเหนียวมีสีเหลืองอ่อน และมีกลิ่นหอม ตักขึ้น พักไว้ให้เย็น จึงนำมาโขลกให้ละเอียด ใช้กับอาหารหลายอย่าง เช่น ลาบ น้ำตก ข้าวคั่วช่วยให้อาหารมีกลิ่นหอม ชวนรับประทาน และทำให้น้ำในอาหารข้นขึ้น ข้าวคั่วไม่นิยมทำเก็บไว้นาน ๆ เพราะนอกจากจะไม่มีกลิ่นหอมแล้ว ยังอาจทำให้รสชาติของอาหารนั้นด้อยลงไปอีก

พริกป่น
คือการนำพริกขี้หนูหรือพริกทางภาคอีสาน ซึ่งจะมีรสเผ็ดมาก ตากแห้ง แล้วคั่วในกระทะโดยใช้ไฟอ่อนให้หอมฉุน ตักขึ้นพักไว้ให้เย็น แล้วโขลกให้ละเอียด พริกป่นเป็นเครื่องปรุงรสอีกชนิดหนึ่งที่ใช้กันมาก เพราะคนอีสานรับประทานรสเผ็ดจัด เค็มจัด พริกป่นใช้กับอาหารทุกชนิด

ตัวอย่างอาหารอีสาน

ส้มตำ (Som tam)




เป็นอาหารคาวของไทยอย่างหนึ่ง มีต้นกำเนิดไม่แน่ชัดโดยน่าจะมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของไทยและ ประเทศลาว ส่วนมากจะทำโดยนำมะละกอดิบที่ขูดเป็นเส้น มาตำในครกกับ มะเขือลูกเล็ก ถั่วลิสงคั่ว กุ้งแห้ง พริก และกระเทียม ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ น้ำปลา ปูดองหรือปลาร้า ให้มีรสเปรี้ยว เผ็ด และออกเค็มเล็กน้อย นิยมกินกับข้าวเหนียวและไก่ย่าง โดยมีผักสด เช่น กระหล่ำปลี หรือถั่วฝักยาว เป็นเครื่องเคียง
ร้านที่ขายส้มตำ มักจะมีอาหารอีสานอย่างอื่นขายร่วมด้วย เช่น
ซุปหน่อไม้ ลาบ น้ำตก ไก่ย่าง ข้าวเหนียว เป็นต้น ส้มตำเป็นอาหารที่แพร่หลายและนิยมรับประทานไปทุกภาค ยังให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระราชนิพนธ์เพลงส้มตำขึ้นมา

ส่วนผสมหลัก
มะละกอสับ 400 กรัม
น้ำปรุงส้มตำ 120 กรัม
ถั่วฝักยาว 80 กรัม
มะเขือเทศ 120 กรัม
พริกขี้หนู 5 กรัม
กุ้งแห้ง 25 กรัม
กระเทียม 8 กรัม
น้ำมะนาว 20 กรัม


วิธีทำ

โขลก พริก และกระเทียมพอแหลก
ใส่มะละกอ ถั่วฝักยาว มะเขือเทศ กุ้งแห้ง โขลกพอให้มะละกอช้ำนิดหน่อย
ใส่น้ำปรุงส้มตำ และแต่งรสเปรี้ยวด้วยน้ำมะนาวอีกเล็กน้อย รับประทานกับผักสด เช่น กะหล่ำปลี ผักบุ้งไทย ถั่วฝักยาว


ลาบ


ลาบ เป็นอาหารท้องถิ่นทางภาคอีสาน (รวมถึงประเทศลาว)และภาคเหนือ โดยนำเนื้อมาสับให้ละเอียดแล้วคลุกกับเครื่องปรุง โดยเนื้อที่มาทำลาบเป็นเนื้อหลายชนิด เช่น เนื้อไก่ เนื้อเป็ด เนื้อวัว เนื้อควาย เนื้อปลา และ เนื้อหมูลาบนกก็มี และยังลาบสัตว์จำพวกกวาง เช่น ละมั่ง กระจง เก้ง ก็นำมาลาบ ลาบนิยมกินคู่กับข้าวเหนียว
ลาบอีสาน เป็นลักษณะอาหารประเภท
ยำ ปรุงแต่งรสชาติด้วย น้ำปลา มะนาว และ โรย ข้าวคั่ว(พริกผง) (ใบสระแหน่) (ใบหอม) (ใบมะกรูด)
ลาบเมือง หรือ ลาบในภาคเหนือ (ลาบคั่ว )แตกต่างจากลาบอีสานโดยจะปรุงด้วยพริกลาบและกระเทียมเจียวลาบเหนือ (ลาบเมือง) จะสับเลือดไปพร้อมๆ กับสับเนื้อ เป็นภูมิปัญญาเพราะว่า ถ้าไม่ใส่เวลาสับเนื้อเนื้อจะกระเด็นออกนอกเขียง เครื่องเทศของลาบเหนือ(ลาบเมือง)จะมีเยอะกว่า ได้แก่ ดีปลี มะแข่น(พืชเฉพาะถิ่น)นอกจากนั้นจะมีผักโรยหน้าและคนผสมเพิ่มอีก 1อย่างที่แตกต่างคือ ผักไผ่(พืชพื้นบ้าน)
ลาบ ในอดีตทำด้วยเนื้อสัตว์ใหญ่ โดยเฉพาะ
วัว - ควาย ที่เป็นสัตว์สำคัญ ซึ่งงานนี้โดยปกติแล้ว คนเมือง มักจะกินข้าว ปลา น้ำพริก และผักเป็นประจำทุกวัน แต่มิได้กินเนื้อวัว ควาย หรือเนื้อหมูบ่อยๆ ด้วยเหตุนี้การกินลาบแต่ละครั้งจึงถือว่าเป็น "มื้อพิเศษ"
พร้อมกันนี้ ลาบ ยังเป็นอาหารที่มีเครื่องเทศมากมายและผักนานาชนิด ทานแล้วจึงก่อนประโยชน์แก่ร่างกายหลายๆ ด้าน และ ลาบดิบ ใช้เนื้อดิบๆ และเลือดสดๆ มาทำ ดังนั้น คนเมืองเพศชายจึงถือว่า ลาบดิบ เป็นอาหารแห่งศักดิ์ศรีของพวกเขา แถมทั้งในการทำ ลาบ มีกระบวนการทำหลายขั้นตอน ใช้เวลานาน ค่อนข้างจะยุ่งยาก ส่งผลให้คนจำนวนมากเข้ามาร่วมทำ กลายเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งไปในตัว

เครื่องปรุงที่สำคัญในการทำลาบ


นำเอาเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมูมาสับให้ละเอียด ประมาณ 2 ขีด
ใส้อ่อนและใส้ตัน ที่ต้มสุกแล้วหั่นให้บาง ประมาณ 1 ขีด
หนังและตับ หั่นให้บาง ๆ ประมาณ 1 ขีด
เลือดสด ประมาณ 1 ถุงเล็ก
ต้นหอม ผักชี หั่น ประมาณ 2-3ช้อน
เครื่องแกง เช่น พริกแห้งป่น กระเทียม หัวหอม เกลือ
เครื่องเทศเช่น ข่า ตะไคร้ ใบมะกูด พริกไทยดำ ลูกละมาด เพื่อดับกลิ่นคาว


วิธีการปรุงลาบ

ใส่เนื้อ ใส้อ่อน ใส้ตัน ตับ หนัง ให้เข้ากันแล้วก็เติมเครื่องเทศ เครื่องแกง ผสมให้เข้ากัน เพื่อความเข้มข้นของรสชาติ ก็เติมเลือดลงไปด้วย จากนั้นถ้าต้องการทานแบบดิบก็ทานได้เลย หรือไม่ก็นำไปคั่วให้สุกก็ได้

ซุปหน่อไม้

ซุปหน่อไม้เป็นอาหารที่เป็นที่นิยมของชาวอีสานเช่นกัน ซึ่งสามารถหากินได้แทบจะทุกจังหวัด แต่กรมวิธีในการปรุงซุปหน่อไม้นั้นอาจจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละถิ่น แต่ก็ไม่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซุปหน่อไม้ก็เช่นเดียวกับอาหารอื่นๆของภาคอีสานคือจะมีรสจัดจ้าน และมีเครื่องปรุงหลักที่ขาดไม่ได้เลยคือ น้ำปลาร้า เรียกได้ว่าชาวอีสานทุกครัวเรือน จะต้องมีน้ำปลาร้าประจำอยู่ในครัว ถ้าไม่มีอาหารอะไรก็จะเอาปลาร้ามาตำน้ำพริกรับประทานกับผักสดที่ปลูกอยู่ข้างบ้าน ถือเป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่ายอย่างหนึ่งของชาวอีสาน ที่มีลักษณะการดำรงชีวิตแบบง่ายๆ คือ อยู่ง่ายๆ กินง่ายๆ และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่รอบๆตัวให้เกิดประโยชน์สูงสุด และรู้จักประยุกต์ใช้ทรัพยากรในหลายๆด้วย


เครื่องปรุง หน่อไม้รวกขูดเป็นเส้นฝอย 300 กรัม ใบย่านาง 20 ใบ (15 กรัม) น้ำคั้นจากใบย่านาง 2 ถ้วย น้ำปลาร้า 1/2 ถ้วย (50 กรัม) เกลือ 1/2 ช้อนชา (4 กรัม) น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม) มะนาว 2?3 ช้อนโต๊ะ (45 กรัม) ผักชีฝรั่งซอย 2 ต้น (7 กรัม) ต้นหอมซอย 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม) ใบสะระแหน่เด็ดเป็นใบ 1/2 ถ้วย (50 กรัม) งาขาวคั่ว 1 ช้อนชา (8 กรัม) พริกป่น 1 ช้อนชา (8 กรัม) ข้าวเหนียว 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม

วิธีทำ - นำหน่อไม้มาเผาไฟหรือต้มให้สุก นำมาขูดเป็นเส้นฝอยๆโดยใช้ส้อมหรือเข็มขูดตัดเป็นท่อนประมาณหนึ่งคืบ แล้วนำไปต้มให้หายขม - ใบย่านาง คั้นให้ได้นำค้นเขียวประมาณ2ถ้วย - คั่วงาโดยใช้ไฟอ่อนๆ แล้วร่อนเอาฝุ่นอกให้หมด โขลกให้ละเอียดเอาไว้โรยหน้าหรือจะโขกรวมกับซุปหน่อไม้ก็ได้ - หั่นผักทุกชนิดแบบฝอย หอมแดงเผา พริกสดเผา โขลกรวมกัน - นำหน่อไม้มาบีบน้ำออกให้หมด ใส่ลงในนำใบย่านาง เติมเกลือน้ำปลาน้ำปลาร้า แล้วต้มให้น้ำย่านางสุกจนน้ำขลุกขลิก - โขลกพริกและหัวหอมที่เผาแล้วให้ละเอียด ใส่เนื้อปลาลงโขลก ใส่หน่อไม้ที่ต้มกับใบย่านางแล้วลงไป ปรุงรสอีกครั้ง ชิมดูรสตามความต้องการแล้วปล่อยให้เย็น โรยผัก งาและพริกป่นที่เตรียมไว้ถ้าหากชอบรสเผ็ด - จัดใส่จานรับประทานกับผักสดพื้นบ้าน



ทีมา