วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

การแสดงประจำภาคอีสาน

การแสดงประจำภาคอีสาน

การแสดงประจำภาคอีสานภาคนี้โดยทั่วไปมักเรียกว่าภาคอีสาน ภาคอีสาน ภูมิประเทศภาคอีสานเป็นที่ราบสูง ค่อนข้างแห้งแล้งเพราะพื้นดินไม่เก็บน้ำ ฤดูแล้งจะกันดาร ฤดูฝนน้ำจะท่วม แต่ชาวอีสานก็มีอาชีพทำไร่ทำนา และเป็นคนรักสนุกและขยัน อดทน คนอีสานมักไปขายแรงงานในท้องที่ภาคกลางหรือภาคใต้ เพลงพื้นเมืองอีสานจึงมักบรรยายความทุกข์ ความยากจน ความเหงา ที่ต้องจากบ้านมาไกล ดนตรีพื้นเมืองแต่ละชิ้นเอื้อต่อการเล่นเดี่ยว

การจะบรรเลงร่วมกันเป็นวงจึงต้องทำการปรับหรือตั้งเสียงเครื่องดนตรีใหม่เพื่อให้ได้ระดับเสียงที่เข้ากันได้ทุกครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม คนอีสานก็พยายามหาความบันเทิงในทุกโอกาส เพื่อผ่อนคลายความไม่สบายใจหรือสภาพความทุกข์ยากอันเนื่องจากสภาพธรรมชาติ

เครื่องดนตรีพื้นเมืองอีสาน เช่น พิณ แคน โหวด โปงลาง หืน ซอ ปี่ไม้ซาง กลองตุ้ม กลองยาว เป็นต้น ทำนองเพลงพื้นเมืองอีสานมีทั้งทำนองที่เศร้าสร้อยและสนุกสนาน เพลงที่มีจังหวะเร็วนั้นถึงจะสนุกสนานอย่างไรก็ยังคงเจือความทุกข์ยากลำบากในบทเพลงอยู่เสมอ ทำนองเพลงหรือทำนองดนตรีเรียกว่า “ลาย” เช่น ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ลายนกไส่บินข้ามท่ง ลายลมพัดพร้าว ลายน้ำโตนตาด เป็นต้น

การขับร้องเรียกว่า “ลำ” ผู้ที่มีความชำนาญในการลำเรียกว่า “หมอลำ” ลำมีหลายประเภท เช่น ลำกลอน ลำเพลิน ลำเรื่องต่อกลอน ลำผญา(ผะหยา) ลำเต้ย เป็นต้น ส่วนบทเพลงหรือลายบรรเลงก็มาจากภูมิปัญญาชาวที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านดนตรีโปงลาง เช่นอาจารย์ทรงศักดิ์ ปทุมสิน ซึ้งเป็นผู้เชี่ยวทางด้านโหวด และอาจารย์ทองคำ ไทยกล้า เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้าน แคน ภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถแบ่งเรื่องการละเล่นพื้นเมืองได้ เป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มอีสานเหนือ ซึ่งสืบทอดวัฒนธรรมมาจากกลุ่มวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขง ที่เรียกว่า กลุ่มไทยลาว หรือกลุ่มหมอลำ หมอแคน ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีมากที่สุดในภาคอีสาน
2. กลุ่มอีสานใต้ แบ่งออกได้อีก 2 กลุ่ม คือ • กลุ่มที่สืบทอดวัฒนธรรมเขมร - ส่วย หรือที่เรียกว่า "กลุ่มเจรียง - กันตรึม" • กลุ่มวัฒนธรรมโคราช หรือที่เรียกว่า "กลุ่มเพลงโคราช" ถ้าพิจารณาถึงประเภทของเพลงพื้นเมืองอีสาน โดยยึดหลักเวลา และโอกาสในการขับร้องเป็นหลัก สามารถแบ่งออกได้ 2 กลุ่ม คือ
1. เพลงพิธีกรรม • กลุ่มอีสานเหนือ ได้แก่ การลำพระเวสหรือการเทศน์มหาชาติ การแหล่ต่างๆ การลำผีฟ้ารักษาคนป่วย การสวดสรภัญญะ และการสู่ขวัญในโอกาสต่างๆ ฯลฯ • กลุ่มอีสานใต้ ได้แก่ เรือมมม็วต เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งของชาวสุรินทร์ ซึ่งมีความเชื่อมาแต่โบราณว่า "เรือมมม็วต" จะช่วยให้คนที่กำลังเจ็บไข้ได้ป่วยมีอาการทุเลาลงได้ ผู้เล่นไม่จำกัดจำนวน แต่จะต้องมีหัวหน้าหรือครูมม็วตอาวุโสทำหน้าที่เป็นผู้นำพิธีต่างๆ และเป็นผู้รำดาบไล่ฟันผีหรือเสนียดจัญไรทั้งปวง
2. เพลงร้องเพื่อความสนุกสนาน • กลุ่มอีสานเหนือ ได้แก่ หมอลำ ซึ่งแบ่งได้ 5 ชนิด คือ หมอลำพื้น หมอลำกลอน หมอลำหมู่ หมอลำเพลิน หมอลำผีฟ้า • กลุ่มอีสานใต้ ได้แก่ กันตรึม เจรียง เพลงโคราช ปัจจุบันมีการแสดงชุดใหม่ที่สถาบันต่างๆ ของภาคอีสานแต่ละกลุ่มได้ประดิษฐ์การฟ้อนรำขึ้นใหม่ ทำให้มีผู้แบ่งศิลปะการฟ้อนทั้งชุดเก่า และชุดใหม่ที่ปรากฏอยู่ของภาคอีสานออกเป็น 8 กลุ่มใหญ่ ซึ่งแต่ละกลุ่มจะออกมาในรูปของการแสดงพื้นเมือง ได้แก่
1. การฟ้อนเลียนกิริยาอาการของสัตว์ เช่น กระโนบติงตอง แมงตับเต่า และกบกินเดือน ฯลฯ
2. การฟ้อนชุดโบราณคดี เช่น ระบำบ้านเชียง รำศรีโคตรบูรณ์ ระบำพนมรุ้ง และระบำจัมปาศรี
3. การฟ้อนประกอบทำนองลำนำ เช่น ฟ้อนคอนสวรรค์ รำตังหวาย เซิ้งสาละวัน และเซิ้งมหาชัย
4. การฟ้อนชุดชุมนุมเผ่าต่างๆภูไท 3 เผ่า คือ เผ่าไทภูพาน รวมเผ่าไทยบุรีรัมย์ และเผ่าไทยโคราช
5. การฟ้อนเนื่องมาจากวรรณกรรม เช่น มโนห์ราเล่นน้ำ
6. การฟ้อนเซ่นสรวงบูชา เช่น ฟ้อนภูไท แสกเต้นสาก โส้ทั่งบั้ง เซิ้งผีหมอ ฟ้อนผีฟ้า ฟ้อนไทดำ เรือมปัลโจล ฟ้อนแถบลาน รำบายศรี เรือมมม๊วต เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งนางด้ง รำดึงครกดึงสาก และเซิ้งเชียงข้อง ฯลฯ
7. การฟ้อนศิลปาชีพ เช่น รำตำหูกผูกขิก ฟ้อนทอเสื่อบ้านแพง เรือมกลอเตียล (ระบำเสื่อ) เซิ้งสาวย้อตำสาด รำปั้นหม้อ รำเข็นฝาย เซิ้งสาวไหม รำแพรวา เซิ้งข้าวปุ้น รำบ้านประโคก เซิ้งปลาจ่อม เซิ้งแหย่ไข่มดแดง และเรือมศรีผไทสมันต์ ฯลฯ
8. การฟ้อนเพื่อความสนุกสนานรื่นเริง เช่น เซิ้งแคน ฟ้อนชุดเล่นสาว เป่าแคน รำโปงลาง ฟ้อนกลองตุ้ม เซิ้งกะโป๋ เซิ้งทำนา เซิ้งสวิง เซิ้งกะหยัง รำโก๋ยมือ รำกลองยาวอีสาน ระบำโคราชประยุกต์ เรือมอันเดร เรือมซันตรูจน์ เรือมตลอก (ระบำกะลา) และเรือมจับกรับ ฯลฯ


ตัวอย่างการแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน

* หมอลำอีสาน หมอลำ แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ หมอลำผีฟ้า หมอลำพื้น หมอลำกลอน และหมอลำหมู่ หมอลำผีฟ้า หมอลำผีฟ้า หมายถึง หมอลำที่ติดต่อกับผีฟ้า ความมุ่งหมายของการร้องรำผีฟ้าก็เพื่อรักษาคนป่วย แล้วเชิญชวนคนป่วยให้ลุกขึ้นมาร่วมร้องรำทำเพลงกับคณะหมอลำ ไม่ได้เจตนาลำเพื่อสร้างความบันเทิงให้แก่ผู้ฟัง แต่มุ่งสร้างความบันเทิงให้แก่คนป่วยเป็นสำคัญ กลอนลำของหมอลำผีฟ้าและเพลงแคนเป็น " กลอนผญา " เหมือนกับกลอนเกี้ยวระหว่างหนุ่มสาว ร้องรำได้ก็ต่อเมื่อผีฟ้ามาเข้าสิง เฉพาะบทเชิญพญาแถนลงมาเยี่ยมคนป่วย ทำนองลำและทำนองแคน เรียกกันว่า " ลำทางยาว " คือ ลำแบบมีเสียงเอื้อนยาวสะอึกสะอื้นนั่นเอง ทำนองแคนในทางปฏิบัติจะเป็น " ลาย "หมอลำพื้น หมอลำพื้น หมายถึง " หมอลำนิทาน " คือ หมอที่เล่านิทานด้วยการลำ (ขับร้อง) คำที่เก่าแก่พอ ๆ กันกับ " ลำพื้น " ก็คือ " เว้าพื้น " ซึ่งตรงกับว่า " เล่านิทาน " หมอลำพื้นจะเป็นหมอลำคนเดียว และมีหมอแคนเป่าคลอเสียงประสานไปด้วยหมอลำกลอน หมอลำกลอนคือ หมอลำที่ลำโดยใช้กลอน ถ้าจะให้ใกล้เคียงกับความหมายก็น่าจะเป็น" หมอลำโต้กลอน " มากกว่า เพราะเป็นการลำแข่งขันโต้ตอบกันด้วยกลอนลำแบ่งได้เป็น ๓ ประเภท คือ หมอลำกั๊บแก๊บ หมอลำกลอน (ธรรมดา) และหมอลำชิงชู้ หมอลำกั๊บแก๊บ หรือหมอลำกรับ หมอลำ (คนเดียว) จะลำเป็นทำนองลำกลอน หมอลำกลอน เป็นหมอลำคู่ ชาย - ชาย หรือ ชาย - หญิง ปัจจุบันจะมีเฉพาะคู่ชาย - หญิง เท่านั้น สมัยก่อนจะเน้นในทางแข่งวิชาความรู้กันเป็นหลัก ปัจจุบันนิยมการลำเกี้ยวกันเป็นการสนุกสนานเพลิดเพลิน ต้องใช้ศิลปะสูงยิ่งกว่าหมอลำประเภทใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งการฝึกฝนอบรม ความขยันหมั่นเพียร ตลอดจนคุณค่าของบทกลอน ทำนองลำมีอยู่สองทำนองคือ ทำนองลำทางสั้น กับทำนองลำทางยาวปัจจุบันมีทำนองลำเต้ยเพิ่มเข้าเป็นตอน ทำนองลำทางสั้นเนื้อเต็มไม่มีเอื้อนมีจังหวะสม่ำเสมอ ทำนองรำทางยาวหรือบางทีเรียกว่า ลำล่อง หรือลำอ่านหนังสือ เป็นทำนองลำแบบเอื้อนเสียงยาวสะอึกสะอื้นแสดงอารมณ์โศกส่วนลำเต้ยเป็นการลำแบบเนื้อเต็ม มีจังหวะคึกคัก มีชีวิตชีวา แสดงอารมณ์รักและอ่อนหวาน มักจะแสดงตลอดทั้งคืน ประมาณสามทุ่มจนถึงสว่าง ทำนองลำเต้ย หมายถึง เพลงสั้น ๆ ที่ใช้ลำเกี้ยวกันและมีจังหวะคึกคักมีชีวิตชีวา ซึ่งมีทั้งหมด ๔ ทำนองคือ เต้ยโขง เต้ยพม่า เต้ยธรรมดา และเต้นหัวโนนตาล หมอลำชิงชู้ เป็นหมอลำประเภทหนึ่งที่มีหมอลำฝ่ายชาย ๓ คน ฝ่ายหญิง ๑ คน เป็นการลำประชันแข่งขันระหว่างฝ่ายชายเพื่อเอาชนะใจฝ่ายหญิง สมมุตฝ่ายชายทั้งสามให้เป็นข้าราชการ พ่อค้า และชาวนา บางทีเรียกหมอลำนี้ว่า หมอลำสามเกลอ หรือหมอลำสามสิงห์ชิงนางหมอลำหมู่ หมอลำหมู่คือ หมอลำที่มีผู้แสดงหลายคน โดยแสดงเป็นเรื่องราว แสดงละคร หรือลิเก โดยนำเอานิทานพื้นบ้านมาทำบทใหม่ เช่น เรื่องนางแตงอ่อน ท้าวสีทน ขุนลู (ซูลู) -นางอั้ว ผาแดง - นางไอ่ ท้าวการะเกดและท้าวก่ำกาดำ เป็นต้น แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ หมอลำหมู่ กับหมอลำเพลิน ลำหมู่ธรรมดามักจะเน้นเรื่องความจริงจัง ความเป็นอนุรักษ์นิยมมีทำนองโศก แต่งตัวสุภาพเรียบร้อย ส่วนลำเพลินจะเน้นความสนุกสนานเพลิดเพลินและความเป็นอิสรนิยมเป็นสำคัญ แต่งตัวแบบสมัยนิยม คือ นุ่งกระโปรงสั้นอวดรูปทรงเหยา พิธีการอ้อนวอนผีด้วยการร่ายรำ เป็นการเสี่ยงทายให้ผีแจ้งความประสงค์เพื่อแก้ไขเคราะห์การเจ็บไข้ได้ป่วยของคนในครอบครัว เป็นประเพณีของชาวผู้ไทยที่มีความเชื่อและนับถือผีมาแต่โบราณ เรียกว่า ประเพณีการเหยาวิทยาลัยนาฏศิลป์จังหวัดกาฬสินธุ์ กรมศิลปากรได้ประยุกต์เป็นท่ารำใหม่โดยอิงลักษณะการร้องและรำจากประเพณีเดิม โดยใช้เครื่องดนตรี แคน โปงลาง พิณ เบส โหวด กลอง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ และเกราะ การร่ายรำมีทั้งจังหวะช้าและเร็ว การแต่งกาย เสื้อคอกลมและแขนยาวนุ่งผ้ามัดหมี่ ห่มแพรวา กลองเส็ง , กลองสองหน้า กลองเส็ง เป็นการแสดงที่ใช้กลองเป็นเครื่องมือแสดงความสามารถในการตีกลองได้ดังและแม่นยำแคล่วคล่องว่องไว เป็นที่นิยมทั่วไป โดยเฉพาะในกลุ่มชาวโส้หรือกระโซ่ จังหวัดสกลนคร กลุ่มชาวผู้ไทย กลุ่มชาวย้อ กลุ่มชาวกะเลิง มีความนิยมกันมาก จึงได้ปรากฎการคิดสร้างสรรค์ท่าตีกลองแตกต่างกันออกไปแปลก ๆ การตีกลองเส็งจะต้องมีการแข่งขัน เพราะคำว่า “เส็ง” แปลว่า “การแข่งขัน” จึงนับเป็นการแสดงแบบกีฬาประเภทหนึ่งที่นิยมจัดขึ้นในเทศกาลงานบุญ แต่ก็ไม่มีบ่อยครั้งนัก กล็องเส็งนั้นสำคัญอยู่ที่กลองกับคนตีกลอง สำหรับตัวกลองนั้นขุดด้วยไม้จนกลวง มีปากกว้าง ก้นแคบ ใช้หนังวัวหรือหนังควายหุ้มหน้ากลอง มีสายเร่งสำหรับเร่งให้หน้ากลองตึงมากหรือน้อยตามความต้องการ เฉพาะในกลุ่มหมู่บ้านที่มีความสนิทชิดชอบกัน หรือเจ้าอาวาสของแต่ละวัดชอบพอเคารพนับถือกันดีอยู่ บางครั้งก็มีการแข่งขันกันในงานบั้งไฟ โดยปักสลากระบุว่าให้เอากลองเส็งไปพร้อมกับบั้งไฟด้วย เวลาหามเอากลองเส็งไปยังที่แข่งขัน จะต้องตั้งพิธียกครูจุดธูปเทียนบูชาอธิษฐานขอให้ได้ชัยชนะ เวลาหามไปก็จะเคาะกลองไปเบา ๆ ให้เสียงกลองเป็นสัญญาณบอกว่ากลองของหมู่บ้านนั้น ๆ กำลังจะมาถึงแล้ว เมื่อลงมือแข่งขันกันก็เริ่มต้นมัดกลองทั้งคู่เข้ากันเป็นคู่ ๆ เริ่มจากเสียงเบาที่ฟังเพราะก่อน จากนั้นก็จะค่อย ๆ ดังขึ้น ๆ ตอนนี้เองถ้าฝ่ายใดเหนือกว่าก็จะส่งเสียงกลบอีกฝ่ายหนึ่งอย่างราบคาบ ถ้าค่อนข้างสูสีกันจะมีเสียงอีกฝ่ายหนึ่งดังสอดแทรกขึ้นบ้าง แต่ที่เสมอกันก็จะยิ่งดังมากขึ้น ผู้ตีกลองนั้นจะเคลื่อนไหวร่างกายจนสั่นเทิ้มไปทั้งตัว สะโพกก็จะส่ายไปมาอย่างรวดเร็วด้วย การแพ้ชนะไม่ได้อะไรกลับไป นอกจากผู้ชนะจะได้มีหน้ามีตาเท่านั้น ในปัจจุบันกำลังได้รับการฟื้นฟูขึ้นอีก หลังจากซบเซามาเกือบ 40 ปีรำลาวกระทบไม้ "รำกระทบไม้" เป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวจังหวัดสุรินทร์ เดิมเรียกว่า "เต้นสาก" ประเทศไทยมีอาชีพทางกสิกรรมมาช้านาน การทำนาผลิตข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย และทำรายได้เป็นสินค้าออกให้แก่ประเทศไทยอย่างมากมาย ชีวิตประจำวันของคนไทยส่วนใหญ่จึงคลุกคลีอยู่กับการทำนา เริ่มตั้งแต่หว่าน ไถ ดำ และเก็บเกี่ยว เป็นต้น ด้วยนิสัยรักสนุก

เอกลักษณ์การฟ้อนภาคอีสาน

การฟ้อนของภาคอีสานนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ที่ผู้ชมสามารถแยกแยะได้ทันทีว่าต่างจากภาคอื่นๆ แม้จะไม่มีการประกาศให้ทราบล่วงหน้าก่อนการแสดงซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้
1. ท่วงทำนองของดนตรี จังหวะ ลีลาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น มีความสนุกสนานเร้าใจแตกต่างจากภาคอื่นๆ ของไทย
2. การแต่งกายของผู้แสดง ทั้งนักแสดงหญิงและชายจะมีความเด่นชัด ในฝ่ายหญิงจะนุ่งซิ่นมัดหมี่ สวมเสื้อแขนกระบอก ห่มผ้าสไบหรือแพรวา ผมเกล้ามวย ฝ่ายชายจะสวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งโสร่งผ้าลายเป็นตาๆ ก็พอจะบอกได้ว่าเป็นการแสดงของอีสาน
3. เครื่องดนตรี นับเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของภาคอีสานอบ่างชัดเจน พิณ แคน โปงลาง โหวด ไหซอง กลองตุ้ม ถึงแม้จะยังไม่มีการบรรเลงก็พอจะบอกได้ว่า การแสดงต่อไปนี้จะเป็นการแสงของภาคอีสาน
4. ภาษาอีสาน แน่นอนว่าเป็นภาษาเฉพาะถิ่นที่มีสำเนียงที่แตกต่าง เป็นการชี้ชัดว่าเป็นการแสดงของภาคอีสาน ท่าฟ้อนพื้นบ้านอีสาน ท่าฟ้อนของภาคอีสานนั้นมีความเป็นอิสระสูง ไม่มีข้อจำกัดตายตัวทั้งมือและเท้า ส่วนใหญ่ท่าฟ้อนจะได้มาจากท่าทางหรืออริยาบถธรรมชาติ และมีท่าพื้นฐานที่แตกต่างกันไปเฉพาะถิ่น เช่น ฟ้อนผู้ไท ฟ้อนผีฟ้า ฟ้อนไทยดำ เรือมอันเร เป็นต้น ถึงแม้จะมีความคิดที่จะพยายามกำหนดท่าฟ้อนของภาคอีสานให้เป็นแบบฉบับขึ้น มีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับนาฏศิลป์ภาคกลางที่มี "ท่าแม่บท" เป็นพื้นฐานในการฟ้อนรำนั้น เป็นแนวคิดหนึ่งที่ต้องการให้การฟ้อนภาคอีสานมีระบบ และหลักเกณฑ์ที่แน่นอนขึ้น ซึ่งไม่น่าจะเป็นแนวคิดที่ถูกต้องนัก เพราะจะเป็นการตีกรอบให้ตัวเองมากเกินไป ซึ่งตามจริงแล้วท่าฟ้อนของอีสานมีความเป็นอิสระไม่มีการกำหนดท่าแน่นอนตายตัวว่าเป็นท่าอะไร ขึ้นอยู่กับผู้ประดิษฐ์ท่ารำจะตั้งชื่อว่าเป็นท่าอะไร ความเป็นอิสระนี่เองที่ทำให้เกิดท่าฟ้อน ชุดใหม่ๆ ที่แปลกตา สวยงามยิ่งขึ้น ท่าฟ้อนที่เป็นแม่แบบส่วนใหญ่นำมาจากกลอนลำ ซึ่งเรียกว่า "กลอนฟ้อน" เป็นกลอนยาวใช้กลอนเจ็ดแปดหรือกลอนเก้าแล้วแต่ผู้แต่งถนัดแบบใด การฟ้อนเป็นศิลปอันหนึ่งที่มาพร้อมกับการลำ การฟ้อนจะมีกี่แบบไม่ปรากฏแน่ชัด แต่หมอลำจะแต่ง กลอนฟ้อนแบบต่างๆ ไว้ ในขณะที่ลำหมอลำจะฟ้อนแสดงท่าทางตามกลอนที่แต่ง ดูแล้วเป็นการสนุกสนาน เช่น
กลอนฟ้อน ของหมอลำเปลี่ยน วิมลสุข มีความพยายามในการแบ่งท่ารำภาคอีสานออกมาให้ชัดเจนซึ่งมีหลายสำนัก เช่น จิราภรณ์ วุฒิพันธ์ (นาฏศิลป์อีสาน) ได้แบ่งออกเป็น 32 ท่า ดังนี้
1. ท่าแฮ้งตากขา 2. ท่ากาตากปีก 3. ท่าหลีกแม่ผัว 4. ท่าคว้าหำปู 5. ท่าไกวอู่กล่อมหลาน 6. ท่าหนุมานคลุกฝุ่น 7. ท่าตุ่นเข้าอู่ 8. ท่าหนุมานถวายครูพิเภก 9. ท่าหนุมานถวายแหวน 10. ท่าแห่บั้งไฟแสน 11. ท่าเมาเหล้า 12. ท่าลำเจ้าชู้หยิกหยอกตาหวาน 13. ท่านักเลง 14. ท่ากวยครูมวยซิต่อย 15. ท่ากินรีเที่ยวชมดอกไม้ 16. ท่านกยูงรำแพน 17. ท่าผีไท้ลงข่วง 18. ท่าพายเฮือส่วง 19. ท่าลำเกี้ยวกันพวกหมอลำคู่ 20. ท่าลำหมู่ออกท่าลำเพลิน 21. ท่ามโนราห์เหาะเหิรบินบนขึ้นเลิ่น 22. ท่ารำโทนสมัยก่อน 23. ท่าเสือออกเหล่า 24. ท่าเต่าลงหนอง 25. ท่าปลาชะโดลงคลอง 26. ท่าแอะแอ่นแหงงมือให้เรียบ 27. ท่านักมวย 28. ท่างัวชนกัน 29. ท่าคนโบราณเลื่อยแป้น 30. ท่าสาวเตะกล้า 31. ท่าผู้เฒ่าจับอู่โหย่นหลาน 32. ท่าแม่ลูกอ่อนกินนม ส่วนวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ดได้คิดประดิษฐ์ชุดฟ้อนขึ้นโดยกำหนดว่าท่าแม่บทอีสานมีอยู่ 48 แม่ท่า เช่น ท่าพรหมสี่หน้า ท่าทศกัณฑ์เกี้ยวนางมณโฑ ท่าช้างเดินตามแม่ ท่าช้างชูงวง ท่ากาเต้นก้อน ท่ากากางปีก ท่าหลีกแม่เมีย ท่าลมพัดพร้าว ท่าท่าเสือออกเหล่า ท่าเต่าลงหนอง ท่าคนขาแหย่ง ท่าปู่สิงหลาน ท่าผู้เฒ่าฟังธรรม ท่าเกียจับไม้ ท่าบินนางมโนราห์ เป็นต้น


ลักษณะท่ามือและท่าเท้าการฟ้อนพื้นบ้านอีสาน

1. ท่ามือ ถ้าพิจารณาการเคลื่อนไหวของมือ คงเหมือนกับคำกล่าวที่ว่าท่าฟ้อนของอีสานเหมือน "ม่อนท่าวใย" คงเห็นภาพพจน์ได้ดีจากการฟ้อนของหมอลำที่หมุนมือพันกันคล้ายกับตั่วม่อนชักใยพันตัว ท่าฟ้อนของภาคอีสานนั้นได้มาจากธรรมชาติคือมีความเป็นอิสระ ขึ้นอยู่กับลีลาของผู้ฟ้อนที่จะขยับมือเคลื่อนกายไปอย่างไร · การจีบมือ ของชาวอีสานนั้นนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ไม่จดกัน จะห่างกันเล็กน้อยซึ่งแตกต่างจากการจีบของภาคกลาง ไม่สามารถเอาหลักนาฏศิลป์ของภาคกลางมาจับท่าฟ้อนของชาวอีสานได้ เพราะไม่สามารถบอกได้ว่าจะจีบหงาย จีบคว่ำตอนไหน

2. ท่าเท้า ท่าเท้าของการฟ้อนแบบอีสานมีลีลาแตกต่างจากภาคกลางเช่นเดียวกัน ซึ่งพอจำแนกท่าเท้าที่ใช้ในการฟ้อนได้ดังนี้ · ท่าซอยเท้า เช่น การรำเซิ้ง การซอยเท้าให้เข้าจังหวะกลอง โดยเปิดส้นเท้าเล็กน้อย ย่อเข่ายกส้นเท้าขึ้นไปด้านหลังให้มากที่สุด ซอยเท้าอย่างสม่ำเสมอ การรำเซิ้งนั้นมิใช่ยกเท้าให้ส้นเท้าสูง หรือยืนโดยอาศัยปลายเท้าคล้ายการเต้นบัลเล่ย์ซึ่งดูแล้วตลกผิดธรรมชาติ แต่เป็นการเปิดส้นเท้าเพียงเล็กน้อยเพื่อสะดวกในการซอยเท้า ซึ่งท่านี้ก็ไม่ใช่การย่ำเท้าอยู่กับที่โดยเหยียบเต็มฝ่าเท้า · ท่าเท้าของผู้ไทเรณูนคร การฟ้อนผู้ไทเรณูนครนอกจากจะมีการก้าวเดินตามธรรมดาแล้ว ยังมีอีกท่าหนึ่งซึ่งเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะของเรณูนครเท่านั้น คือมือบนจีบข้างหูโดยปลายนิ้วที่จีบจะหันเข้าข้างหู แล้วส่งจีบผ่านใต้รักแร้ไปด้านหลัง แทงปลายมือไปด้านหน้าในลักษณะคว่ำมือม้วนมือมาจีบไว้ข้างหูดังเดิม สลับกันไปทั้งมือซ้ายและมือขวา คือ ถ้ามือซ้ายจีบไว้ข้างหู มือขวาก็จะส่งไปข้างหลัง ส่วนท่าเท้าก็จะใช้ 4 จังหวะ คือ ขย่มตัว 2 จังหวะ ถ้ามือไหนส่งหลังกำลังจะแทงไปข้างหน้า ก็ใช้เท้าด้านนั้นแตะพื้น 4 ครั้ง อีก 2 จังหวะ โดยครั้งที่ 4 จะเหยียบขย่มตัว 2 จังหวะ ใช้เท้าอีกข้างหนึ่งแตะพื้น 4 ครั้ง แล้วเหยียบกันไปมาซึ่งจะสอดคล้องกับท่ามือที่เคลื่อนไหวไปมา

· ท่าเท้าของผู้ไทกาฬสินธุ์ ท่าเท้าของการฟ้อนผู้ไทในจังหวัดกาฬสินธุ์และการฟ้อนโปงลางจะใช้ท่าก้าวเท้าเช่นเดียวคือ การก้าวไขว้เท้าโดยเตะเท้าไปข้างหน้าก้าวไขว่ขย่มตัว ชักเท้าหลังเตะไปด้านหน้าไขว่เท้าขย่มตัวสลับกันไป ลักษณะคล้ายกับการเต้นควิกสเต็ป ที่แตกต่างกันก็คือการเตะเท้าไปข้างหน้า นอกนั้นใช้หลักการก้าวเท้าเช่นเดียวกับการเต้นควิกสเต็ป · ท่าสืบเท้าหรือกระถดเท้าไปด้านข้าง ท่านี้จะใช้ในการฟ้อนผู้ไทในจังหวัดกาฬสินธุ์ เช่นกัน เป็นการก้าวชิดก้าว แต่เป็นการก้าวเท้าไปทางด้านข้าง มีลักษณะเช่นเดียวกับการสไลด์เท้าไปทางด้านข้างนั่นเอง การฟ้อนของภาคอีสานส่วนใหญ่จะใช้การก้าวเท้าลักษณะเดียวกับการรำเซิ้ง จะมีพิเศษอีกแบบหนึ่งคือ ท่าเท้าของผู้ชายในการฟ้อนผู้ไท จะใช้ลีลาการก้าวเท้าของการรำมวยที่เรียกว่า การรำมวยลาว หรือรำมวยโบราณ ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอีกแบบหนึ่ง


ตัวอย่างการแสดงของภาคอีสาน
ฟ้อนภูไทสกลนคร





ฟ้อนภูไทสกลนคร การฟ้อนภูไทในจังหวัดสกลนคร เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยที่เริ่มสร้างองค์พระธาตุเชิงชุมซึ่งเป็นพระธาตุคู่ บ้านคู่เมืองของชาวสกลนครทุกชนเผ่า (คือมีการดัดแปลงปราสาทหินแบบเขมรแล้วครอบทับสร้างเป็นพระธาตุในศิลปะแบบ ล้านช้างขึ้นแทน) ชาวภูไทเป็นชนเผ่าที่รับอาสาที่จะเป็นผู้ปฏิบัติรักษาหาเครื่องสักการบูชา พระธาตุ ทุกๆปีเมื่อถึงฤดูข้าวออกรวง จะมีการเก็บเกี่ยวข้าวบางส่วนเพื่อนำไปทำเป็น ?ข้าวเม่า? ซึ่งชาวภูไทจะนำเอาข้าวเม่ามาถวายการสักการะองค์พระธาตุเชิงชุม ซึ่งมักจะมีขบวนแห่ เรียกว่า ?แห่ข้าวเม่า? และมีการฟ้อนรำรอบๆองค์พระธาตุ แต่เดิมเป็นการฟ้อนรำของผู้ชายเพื่อบูชาพระธาตุในเทศกาลสักการะองค์พระธาตุ แต่ภายหลังก็ได้เปลี่ยนผู้ฟ้อนมาเป็นผู้หญิงทั้งหมด เพราะท่วงท่าและลีลาการฟ้อนซึ่งจะดูสวยงามและอ่อนหวานมากกว่า ผู้ฟ้อนหญิงชาวภูไทจะแต่งกายตามแบบสตรีชาวภูไทสกลนคร และมีการสวมเล็บยาวในการฟ้อนรำอีกด้วย ต่อมาชาวภูไทในท้องถิ่นอื่นในจังหวัดสกลนครได้มาพบเห็นจึงได้นำไปประยุกต์ ท่าฟ้อนขึ้นอีก และมีการแต่งเนื้อร้องประกอบการแสดงเพิ่มเติมอีกด้วย ยกตัวอย่างเนื้อร้องฟ้อนภูไทที่กรมศิลปากรนำออกไปเผยแพร่จนรู้จักกันในทั่ว ไป ซึ่งแต่งโดย อ.บัวผัน วงศ์เทพ โรงเรียนบ้านหนองศาลา ตำบล พังขว้าง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร


เนื้อร้องฟ้อนภูไท(สกลนคร) ไปเย้อไป ไปโห่เอาชัยเอาซอง(ซ้ำ) ไปโฮมพี่โฮมน้อง ไปร่วมแซ่ฮ้องอวยชัย เชิงเขาแสนจน หนทางก็ลำบาก(ซ้ำ) ตัวข้อยสู้ทนยาก มาฟ้อนรำให้ท่านชม ข้อยอยู่เทิงเขา ยังเอาใจมาช่วย(ซ้ำ) พวกข้อยขออำนวย อวยชัยให้ละเน้อ ขออำนาจไตรรัตน์ จงปกปักฮักษา(ซ้ำ) ชาวไทยทั่วหน้า ให้วัฒนาสืบไป เวลาก็จวน ข้อยสิด่วนไป(ซ้ำ) ขอความมีชัย แด่ทุกท่านเทอญ ข้อยลาละเน้อ ข้อยลาละเน้อ..... ในปัจจุบันการฟ้อนภูไท นอกจากเป็นการฟ้อนเพื่อบูชาพระธาตุเชิงชุม หรือบ้างก็นำมาฟ้อนบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พิธีเลี้ยงเจ้าปู่มเหศักดิ์ของชาววาริชภูมิ ก็ได้นำมาใช้ในการฟ้อนต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองและในงานเทศกาลต่าง ๆ ท่าฟ้อนภูไทมีผู้สืบต่อและปรับปรุงกันมากมายหลายท่า แต่ละท้องถิ่นมีท่าแตกต่างกันไป ท่าหลักที่พบนิยมฟ้อน ได้แก่ ท่าบัวตูม-บัวบาน ท่าแซงแซวลงหาด ท่าบังแสง ท่านาคีม้วนหาง ท่านางไอ่เลาะดอน หรือนางไอ่เลียบหาด เป็นต้น เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อนภูไท ได้แก่ แคน กลองหาง พิณ กลองตุ้ม (ตะโพน) กลองเส็งหรือกลองกิ่ง โปงลาง ฉาบ หมากกั๊บแก๊บ (กรับ) ฆ้องโหม่งและพังฮาด (ฆ้องโบราณไม่มีปุ่ม) การแสดงจะบรรเลงดนตรีลายภูไทเลาะตูบ

การแต่งกาย เสื้อ นิยมทำเป็นเสื้อแขนกระบอกติดกระดุมธรรมดา กระดุมเงิน หรือเหรียญสตางค์ เช่น เหรียญสตางค์ห้า สตางค์สิบ มาติดเรียงเป็นแถว นิยมใช้เป็นผ้าย้อมครามเข้มจนดำมีผ้าขลิบแดงติดชายเสื้อ เช่น ที่คอสาบเสื้อ ปลายแขนปัจจุบัน นุ่งผ้าซิ่นพื้นสีดำต่อตีนซิ่นขิดยาวกรอมเท้า ผ้าเบี่ยงนิยมใช้ผ้าแพรขิดสีแดง พาดไหล่ซ้ายแล้วไปมัดที่เอวด้านขวา สวมส่วยมือยาว(เล็บ)ทำมาจากกระดาษหรือโลหะพันด้วยด้ายและมีพู่ที่ปลายเล็บสี ขาวหรือแดง ผมเกล้ามวยมัดมวยผมด้วยผ้าแดงบางครั้งก็ทัดผมด้วยดอกไม้สีขาวหรือไม่ก็ฝ้าย ภูไท และสวมเครื่องประดับเงิน เช่น สร้อยคอ ต่างหู กำไล


การเซิ้งบั้งไฟ



บุญบั้งไฟ นิยมทำกันในเดือนหก ถือเป็นประเพณีสำคัญที่จะขาดไม่ได้ เพราะตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ชาวอีสานมีความเชื่อว่า ถ้าปีใดไม่จัดงานบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกิดความแห้งแล้ง ไม่มีน้ำทำนา แต่ถ้าปีใดจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะตกต้องตามฤดูกาล เกิดความอุดมสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัย งานบุญบั้งไฟจึงถือเป็นงานประเพณี ประจำปีที่สำคัญของชาวอีสาน พอใกล้ถึงวันงานชาวอีสานไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็จะกลับบ้านไปร่วมงานบุญบั้งไฟ ซึ่งเป็นงานที่สร้างความรักความสามัคคีของคนท้องถิ่นเป็นอย่างดี

ตำนาน

ประเพณีบุญบั้งไฟตามตำนานเล่าว่า เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าถือชาติกำเนิดเป็นพญาคางคก ได้อาศัยอยู่ใต้ร่มโพธิ์ใหญ่ในเมืองพันทุมวดี ด้วยเหตุใดไม่แจ้ง พญาแถนเทพเจ้าแห่งฝนโกรธเคืองโลกมนุษย์มาก จึงแกล้งไม่ให้ฝนตกนานถึง 7 เดือน ทำให้เกิดความลำบากยากแค้นอย่างแสนสาหัสแก่มวลมนุษย์ สัตว์และพืช จนกระทั่งพากันล้มตายเป็นจำนวนมาก พวกที่แข็งแรงก็รอดตายและได้พากันมารวมกลุ่มใต้ต้นโพธิ์ใหญ่กับพญาคางคก สรรพสัตว์ทั้งหลายจึงได้หารือกันเพื่อจะหาวิธีการปราบพญาแถน ที่ประชุมได้ตกลงกันให้พญานาคียกทัพไปรบกับพญาแถน แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ จากนั้นจึงให้พญาต่อแตนยกทัพไปปราบแต่ก็ต้องพ่ายแพ้อีกเช่นกัน ทำให้พวกสรรพสัตว์ทั้งหลายเกิดความท้อถอย หมดกำลังใจและสิ้นหวัง ได้แต่รอวันตาย


วัตถุประสงค์การจัดงานบุญบั้งไฟ

1. เป็นการบูชาพระธาตุเกศแก้วจุฬมณีบนสวรรค์
2. เป็นการขอฝน

การเซิ้งบั้งไฟ

การเซิ้งบั้งไฟ เป็นการขับร้องเป็นกาพย์ เป็นกลอน ประกอบ เครื่องดนตรี พวกกลอง แคน ฉิ่ง เป็นหมู่คณะเพื่อความสนุกสนาน
ก. พวกเซิ้งธรรมะ เป็นพวกที่เรียบร้อย เป็นคณะและมีผู้กล่าวนำ มีการฟ้อนแบบต่างๆ ตามที่หัวหน้าคณะจะสั่ง กาพย์เซิ้งก็เป็นคติธรรมสอนใจไปด้วย
ข. พวกเซิ้งกินเหล้า เป็นพวกคอสุรา ไม่มีขบวน จับกลุ่มกันเล่นเซิ้งไม่เป็นระเบียบกาพย์ก็ตลกโปกฮา ทั้งคำสุภาพ คำหยาบ (แต่เขาไม่ถือว่าเสียหาย)
ค. พวกเซิ้งขอเงิน เป็นพวกที่ไม่อยู่ในอันดับ คือไม่มีบท ไม่มีทำนอง กลุ่มละ 4 - 5 คน ตีกลอง ตีปี๊บเคาะไม้แล้วแต่นึกออก พวกหลังนี้เล่นเพื่อขอเงินเท่านั้นเอง เพราะประเพณีนี้มีการเซิ้งขอสุรา ขอขนม ขอเงินซื้อสุรา ก็เลยตั้งคณะขึ้นขอบ้าง ส่วนมากเป็นพวกวัยรุ่นและเด็กเล็ก
ตัวอย่างบทเซิ้ง ที่เป็นบทตลก น่าสนใจ
แม่เถ้าเอ้ยลุกเขยมาแล้ว แม่เถ้าแก้วไปลี้อยู่ใส
อยู่คีไฟตาเหลี่ยมเม้าๆ ข้อยมาเว้าแม่เถ้าอย่าหนี

ฟ้อนหมากกั๊บแก้บ-ลำเพลิน

หมากกั๊บแก้บ(กรับ) เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะของภาคอีสาน มีด้วยกัน 2 ประเภท คือ
1. กั๊บแก้บไม้สั้น เป็นไม้ผิวเรียบยาวประมาณ 4-6 นิ้ว
2. กั๊บแก้บไม้ยาว เป็นไม้ผิวเรียบมีการหยักร่องฟันปลา เพื่อขูดกันให้เกิดเสียง การเล่นหมากกั๊บแก้บนั้น สามารถเล่นได้ทุกโอกาสที่มีการบรรเลงดนตรีพื้นบ้าน และผู้เล่นส่วนใหญ่มักจะแต่งกายเหมือนชาวอีสานโบราณ คือนุ่งผ้าเตี่ยวมีการสักลวดลายบนร่างกาย ปัจจุบันไม่นิยมการสัก จึงมักจะใช้สีเขียนลวดลายขึ้นแทน เช่นลายเสือผงาด ลายหนุมานถวายแหวน ลายนกอินทรี ลายมอม ลายสิงห์ เป็นต้นการเล่นหมากกั๊บแก้บ เป็นการเล่นที่ไม่มีรูปแบบตายตัว สุดแท้แต่ใครมีความสามารถในการแสดงออกถึงลีลาท่าทางที่โลดโผนให้เป็นที่ประทับใจของหญิงสาวได้มากน้อยเพียงใด หากเล่นกันเป็นคู่มีฝ่ายรุกฝ่ายรับ แล้วเปลี่ยนลีลาสลับกันก็ขึ้นอยู่กับโอกาสและปฏิภาณของผู้เล่นลำเพลิน เป็นการขับลำอีกประเภทหนึ่งของชาวอีสาน สันนิษฐานว่าการขับลำเพลินมาจากการลำทำนองตีกลองน้ำเพราะจังหวะลีลาท่วงทำนองคล้ายคลึงกันมากหมอลำเพลิน ถือกำเนิดขึ้นมาในสมัยใดไม่สามารถระบุหลักฐานได้แน่ชัด แต่ก็เป็นทำนองกลอนลำที่นิยมกันอย่างกว้างขวางทั้งในภาคอีสานและประเทศลาว ตั้งแต่ พ.ศ.2505 จนถึงปัจจุบัน บางคนก็เรียกทำนองหมอลำชนิดนี้ว่าหมอลำแก้วหน้าม้า อันเนื่องมาจาก แต่เริ่มเดิมทีนั้นหมอลำเพลินนิยมเล่นเรื่อง “แก้วหน้าม้า” เพียงอย่างเดียว ในสมัยต่อมาก็มีการเล่นเรื่อง “ขุนช้างขุนแผน” ซึ่งชาวอีสานจะนิยมเรียกว่า “ขุนแผน-ลาวทอง” เพราะนิยมเล่นตอนนางลาวทองเขียนสาสน์ ปัจจุบัน ลำเพลินพัฒนาตนเองไปอย่างรวดเร็ว จึงนิยมนำเอาวรรณกรรมและนิทานพื้นบ้านมาใช้เล่นกันอย่างกว้างขวางความไม่พิถีพิถัน ของคณะหมอลำและผู้จัดการวงหมอลำในปัจจุบัน ทำให้ภาพลักษณ์ของหมอลำเพลิน เกือบจะสูญเสียความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นอีสาน เพราะในขณะนี้หมอลำเพลินแทบทุกคณะ นิยมนำเอาเครื่องดนตรีสากลมาใช้ในการบรรเลงเพลงประกอบการแสดง แทบจะไม่เหลือความเป็นขนบดั้งเดิมของหมอลำ กลอนลำที่ใช้ก็ไม่ถูกต้องตรงกับเนื้อเรื่อง มักจะลำไปเรื่อยๆตามคำกลอนของผู้เขียนเพลงจะคิดได้

จุดเด่นของการฟ้อนหมากกั๊บแก้บ-ลำเพลิน อยู่ที่จังหวะลีลาท่วงทำนองดนตรี ประกอบกับท่าฟ้อนของชาวอีสาน เช่น ท่าถวยแถน ท่าหมาเยี่ยว ท่าลอยปลากระเดิด ท่าเสือตะครุบ ท่าดาวน้อย ท่าลำเพลินท่าบัวหุบ-บัวบาน ท่าส่าย ท่าเนิ้ง ฯลฯ ดนตรีบรรเลงลายแมงตับเต่า และทำนองหมอลำอัศจรรย์ลายลำเพลิน

การแต่งกาย - ชาย สวมเสื้อยันต์แขนกุดสีขาวขอบชายเสื้อสีแดง นุ่งผ้าลายโสร่ง เป็นโจงกระเบนรั้งสูงถึงต้นขา ม้วนปลายผ้าสอดไปด้านหลัง (เรียกลักษณะการนุ่งผ้าเช่นนี้ว่า การนุ่งแบบเสือลากหาง) มัดศีรษะด้วยผ้าขาวม้า และมัดเอวด้วยผ้าขิด - หญิง สวมเสื้อแขนกระบอก ห่มทับด้วยสไบขิด นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่ยาวคลุมเข่า ผมเกล้ามวยประดับมวยผมด้วยดอกไม้ และสวมเครื่องประดับเงิน

ที่มา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น