วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

อาหารของคนภาคอีสาน

อาหารของคนภาคอีสาน

เป็นดินแดนที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ทำให้อาหารพื้นเมืองจึงเป็นอาหารพวกแมลงหลายชนิด ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนที่หล่อเลี้ยงชีวิตประชากรในภาคนี้
อาหารอีสานส่วนใหญ่จะมีข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก ส่วนพืชผัก และเนื้อสัตว์ที่นำมาใช้ประกอบอาหารได้มาจากภายในท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่
อาหารอีสานมักใช้ปลาร้าเป็นเครื่องปรุงรสในอาหารเกือบทุกชนิด แต่ไม่นิยมใส่ในอาหารประเภทผัด และมักรับประทานคู่กับผักสด



อาหารภาคอีสาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) มีรสชาติเด่น คือ รสเค็มจากน้ำปลาร้า รสเผ็ดจากพริกสด พริกแห้ง รสเปรี้ยวจาก ผักพื้นบ้าน เช่น มะขาม มะกอก

อาหารส่วนใหญ่มีลักษณะแห้ง ข้น มีน้ำขลุกขลิก แต่ไม่ชอบใส่กะทิ คนอีสานใช้ปลาร้าเป็นเครื่องปรุงอาหารแทบทุกชนิด เช่น ซุปหน่อไม้ อ่อม หมก น้ำพริกต่างๆ รวมทั้งส้มตำ

อาหารอีสานที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ ปลาร้าบ้อง อุดมด้วยพืชสมุนไพร เช่น ข่า ตะไคร้ หอมแดง กระเทียม ใบมะกรูด มะขามเปียก หรืออย่างแกงอ่อม ที่เน้นการใช้ผัก หลายชนิดตามฤดูกาลเป็นหลัก รสชาติของแกงอ่อมจึงออกรสหวานของผักต่างๆ รสเผ็ดของพริก กลิ่นหอมของเครื่องเทศและผักชีลาวหรืออย่างต้มแซบ ที่มีน้ำแกงอันอุดมด้วยรสชาติและกลิ่นหอมของของเครื่องเทศและผักสมุนไพรเช่นกัน

คนอีสานจะรับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก และโดยทั่วไปจะนึ่งข้าวเหนียวด้วยหวด หวด คือภาชนะที่เป็นรูปกรวย ทำด้วยไม้ไผ่ ซึ่งจะต้องใช้คู่กับหม้อทรงกระบอก

เครื่องปรุงรสในอาหารอีสาน



ปลาร้า
คนอีสานจะทำปลาร้ารับประทานในบ้าน ไม่นิยมซื้อ เมื่อสมาชิกในบ้านออกหาปลา จับกบ ซึ่งอาจจะได้ปลามาก เหลือรับประทานก็จะทำปลาร้า ปลาตากแห้ง เป็นการถนอมอาหารไว้รับประทานในมื้ออื่น ๆ ปลาร้าเป็นเครื่องปรุงรสในอาหารอีสานเกือบทุกชนิด ใช้ใส่ผสมได้ทั้งแกง หมก อ่อม น้ำพริกต่าง ๆ แต่ไม่นิยมใส่ในอาหารประเภทผัด

ข้าวเบือ
คือการนำข้าวเหนียวมาแช่น้ำไว้สักพักใหญ่ ให้เมล็ดข้าวเหนียวอ่อนนุ่ม สงให้สะเด็ดน้ำ แล้วนำมาโขลกให้ละเอียด ใช้ในอาหารหลายอย่าง เช่น หมกหน่อไม้ แกงย่านาง แกงอ่อม ข้าวเบือจะช่วยให้อาหารหนืดเหนียว น่ารับประทาน

ข้าวคั่ว




คือการนำข้าวเหนียวข้าวสาร และควรเป็นข้าวสารใหม่ คั่วในกระทะ ใช้ไฟอ่อน คั่วให้ทั่ว พลิกไปมาจนข้าวเหนียวมีสีเหลืองอ่อน และมีกลิ่นหอม ตักขึ้น พักไว้ให้เย็น จึงนำมาโขลกให้ละเอียด ใช้กับอาหารหลายอย่าง เช่น ลาบ น้ำตก ข้าวคั่วช่วยให้อาหารมีกลิ่นหอม ชวนรับประทาน และทำให้น้ำในอาหารข้นขึ้น ข้าวคั่วไม่นิยมทำเก็บไว้นาน ๆ เพราะนอกจากจะไม่มีกลิ่นหอมแล้ว ยังอาจทำให้รสชาติของอาหารนั้นด้อยลงไปอีก

พริกป่น
คือการนำพริกขี้หนูหรือพริกทางภาคอีสาน ซึ่งจะมีรสเผ็ดมาก ตากแห้ง แล้วคั่วในกระทะโดยใช้ไฟอ่อนให้หอมฉุน ตักขึ้นพักไว้ให้เย็น แล้วโขลกให้ละเอียด พริกป่นเป็นเครื่องปรุงรสอีกชนิดหนึ่งที่ใช้กันมาก เพราะคนอีสานรับประทานรสเผ็ดจัด เค็มจัด พริกป่นใช้กับอาหารทุกชนิด

ตัวอย่างอาหารอีสาน

ส้มตำ (Som tam)




เป็นอาหารคาวของไทยอย่างหนึ่ง มีต้นกำเนิดไม่แน่ชัดโดยน่าจะมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของไทยและ ประเทศลาว ส่วนมากจะทำโดยนำมะละกอดิบที่ขูดเป็นเส้น มาตำในครกกับ มะเขือลูกเล็ก ถั่วลิสงคั่ว กุ้งแห้ง พริก และกระเทียม ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ น้ำปลา ปูดองหรือปลาร้า ให้มีรสเปรี้ยว เผ็ด และออกเค็มเล็กน้อย นิยมกินกับข้าวเหนียวและไก่ย่าง โดยมีผักสด เช่น กระหล่ำปลี หรือถั่วฝักยาว เป็นเครื่องเคียง
ร้านที่ขายส้มตำ มักจะมีอาหารอีสานอย่างอื่นขายร่วมด้วย เช่น
ซุปหน่อไม้ ลาบ น้ำตก ไก่ย่าง ข้าวเหนียว เป็นต้น ส้มตำเป็นอาหารที่แพร่หลายและนิยมรับประทานไปทุกภาค ยังให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระราชนิพนธ์เพลงส้มตำขึ้นมา

ส่วนผสมหลัก
มะละกอสับ 400 กรัม
น้ำปรุงส้มตำ 120 กรัม
ถั่วฝักยาว 80 กรัม
มะเขือเทศ 120 กรัม
พริกขี้หนู 5 กรัม
กุ้งแห้ง 25 กรัม
กระเทียม 8 กรัม
น้ำมะนาว 20 กรัม


วิธีทำ

โขลก พริก และกระเทียมพอแหลก
ใส่มะละกอ ถั่วฝักยาว มะเขือเทศ กุ้งแห้ง โขลกพอให้มะละกอช้ำนิดหน่อย
ใส่น้ำปรุงส้มตำ และแต่งรสเปรี้ยวด้วยน้ำมะนาวอีกเล็กน้อย รับประทานกับผักสด เช่น กะหล่ำปลี ผักบุ้งไทย ถั่วฝักยาว


ลาบ


ลาบ เป็นอาหารท้องถิ่นทางภาคอีสาน (รวมถึงประเทศลาว)และภาคเหนือ โดยนำเนื้อมาสับให้ละเอียดแล้วคลุกกับเครื่องปรุง โดยเนื้อที่มาทำลาบเป็นเนื้อหลายชนิด เช่น เนื้อไก่ เนื้อเป็ด เนื้อวัว เนื้อควาย เนื้อปลา และ เนื้อหมูลาบนกก็มี และยังลาบสัตว์จำพวกกวาง เช่น ละมั่ง กระจง เก้ง ก็นำมาลาบ ลาบนิยมกินคู่กับข้าวเหนียว
ลาบอีสาน เป็นลักษณะอาหารประเภท
ยำ ปรุงแต่งรสชาติด้วย น้ำปลา มะนาว และ โรย ข้าวคั่ว(พริกผง) (ใบสระแหน่) (ใบหอม) (ใบมะกรูด)
ลาบเมือง หรือ ลาบในภาคเหนือ (ลาบคั่ว )แตกต่างจากลาบอีสานโดยจะปรุงด้วยพริกลาบและกระเทียมเจียวลาบเหนือ (ลาบเมือง) จะสับเลือดไปพร้อมๆ กับสับเนื้อ เป็นภูมิปัญญาเพราะว่า ถ้าไม่ใส่เวลาสับเนื้อเนื้อจะกระเด็นออกนอกเขียง เครื่องเทศของลาบเหนือ(ลาบเมือง)จะมีเยอะกว่า ได้แก่ ดีปลี มะแข่น(พืชเฉพาะถิ่น)นอกจากนั้นจะมีผักโรยหน้าและคนผสมเพิ่มอีก 1อย่างที่แตกต่างคือ ผักไผ่(พืชพื้นบ้าน)
ลาบ ในอดีตทำด้วยเนื้อสัตว์ใหญ่ โดยเฉพาะ
วัว - ควาย ที่เป็นสัตว์สำคัญ ซึ่งงานนี้โดยปกติแล้ว คนเมือง มักจะกินข้าว ปลา น้ำพริก และผักเป็นประจำทุกวัน แต่มิได้กินเนื้อวัว ควาย หรือเนื้อหมูบ่อยๆ ด้วยเหตุนี้การกินลาบแต่ละครั้งจึงถือว่าเป็น "มื้อพิเศษ"
พร้อมกันนี้ ลาบ ยังเป็นอาหารที่มีเครื่องเทศมากมายและผักนานาชนิด ทานแล้วจึงก่อนประโยชน์แก่ร่างกายหลายๆ ด้าน และ ลาบดิบ ใช้เนื้อดิบๆ และเลือดสดๆ มาทำ ดังนั้น คนเมืองเพศชายจึงถือว่า ลาบดิบ เป็นอาหารแห่งศักดิ์ศรีของพวกเขา แถมทั้งในการทำ ลาบ มีกระบวนการทำหลายขั้นตอน ใช้เวลานาน ค่อนข้างจะยุ่งยาก ส่งผลให้คนจำนวนมากเข้ามาร่วมทำ กลายเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งไปในตัว

เครื่องปรุงที่สำคัญในการทำลาบ


นำเอาเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมูมาสับให้ละเอียด ประมาณ 2 ขีด
ใส้อ่อนและใส้ตัน ที่ต้มสุกแล้วหั่นให้บาง ประมาณ 1 ขีด
หนังและตับ หั่นให้บาง ๆ ประมาณ 1 ขีด
เลือดสด ประมาณ 1 ถุงเล็ก
ต้นหอม ผักชี หั่น ประมาณ 2-3ช้อน
เครื่องแกง เช่น พริกแห้งป่น กระเทียม หัวหอม เกลือ
เครื่องเทศเช่น ข่า ตะไคร้ ใบมะกูด พริกไทยดำ ลูกละมาด เพื่อดับกลิ่นคาว


วิธีการปรุงลาบ

ใส่เนื้อ ใส้อ่อน ใส้ตัน ตับ หนัง ให้เข้ากันแล้วก็เติมเครื่องเทศ เครื่องแกง ผสมให้เข้ากัน เพื่อความเข้มข้นของรสชาติ ก็เติมเลือดลงไปด้วย จากนั้นถ้าต้องการทานแบบดิบก็ทานได้เลย หรือไม่ก็นำไปคั่วให้สุกก็ได้

ซุปหน่อไม้

ซุปหน่อไม้เป็นอาหารที่เป็นที่นิยมของชาวอีสานเช่นกัน ซึ่งสามารถหากินได้แทบจะทุกจังหวัด แต่กรมวิธีในการปรุงซุปหน่อไม้นั้นอาจจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละถิ่น แต่ก็ไม่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซุปหน่อไม้ก็เช่นเดียวกับอาหารอื่นๆของภาคอีสานคือจะมีรสจัดจ้าน และมีเครื่องปรุงหลักที่ขาดไม่ได้เลยคือ น้ำปลาร้า เรียกได้ว่าชาวอีสานทุกครัวเรือน จะต้องมีน้ำปลาร้าประจำอยู่ในครัว ถ้าไม่มีอาหารอะไรก็จะเอาปลาร้ามาตำน้ำพริกรับประทานกับผักสดที่ปลูกอยู่ข้างบ้าน ถือเป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่ายอย่างหนึ่งของชาวอีสาน ที่มีลักษณะการดำรงชีวิตแบบง่ายๆ คือ อยู่ง่ายๆ กินง่ายๆ และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่รอบๆตัวให้เกิดประโยชน์สูงสุด และรู้จักประยุกต์ใช้ทรัพยากรในหลายๆด้วย


เครื่องปรุง หน่อไม้รวกขูดเป็นเส้นฝอย 300 กรัม ใบย่านาง 20 ใบ (15 กรัม) น้ำคั้นจากใบย่านาง 2 ถ้วย น้ำปลาร้า 1/2 ถ้วย (50 กรัม) เกลือ 1/2 ช้อนชา (4 กรัม) น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม) มะนาว 2?3 ช้อนโต๊ะ (45 กรัม) ผักชีฝรั่งซอย 2 ต้น (7 กรัม) ต้นหอมซอย 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม) ใบสะระแหน่เด็ดเป็นใบ 1/2 ถ้วย (50 กรัม) งาขาวคั่ว 1 ช้อนชา (8 กรัม) พริกป่น 1 ช้อนชา (8 กรัม) ข้าวเหนียว 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม

วิธีทำ - นำหน่อไม้มาเผาไฟหรือต้มให้สุก นำมาขูดเป็นเส้นฝอยๆโดยใช้ส้อมหรือเข็มขูดตัดเป็นท่อนประมาณหนึ่งคืบ แล้วนำไปต้มให้หายขม - ใบย่านาง คั้นให้ได้นำค้นเขียวประมาณ2ถ้วย - คั่วงาโดยใช้ไฟอ่อนๆ แล้วร่อนเอาฝุ่นอกให้หมด โขลกให้ละเอียดเอาไว้โรยหน้าหรือจะโขกรวมกับซุปหน่อไม้ก็ได้ - หั่นผักทุกชนิดแบบฝอย หอมแดงเผา พริกสดเผา โขลกรวมกัน - นำหน่อไม้มาบีบน้ำออกให้หมด ใส่ลงในนำใบย่านาง เติมเกลือน้ำปลาน้ำปลาร้า แล้วต้มให้น้ำย่านางสุกจนน้ำขลุกขลิก - โขลกพริกและหัวหอมที่เผาแล้วให้ละเอียด ใส่เนื้อปลาลงโขลก ใส่หน่อไม้ที่ต้มกับใบย่านางแล้วลงไป ปรุงรสอีกครั้ง ชิมดูรสตามความต้องการแล้วปล่อยให้เย็น โรยผัก งาและพริกป่นที่เตรียมไว้ถ้าหากชอบรสเผ็ด - จัดใส่จานรับประทานกับผักสดพื้นบ้าน



ทีมา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น