วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

ภาษาท้องถิ่นภาคอีสาน

ภาษาท้องถิ่นภาคอีสาน


ภาคอีสาน เป็นเขตหรือภาคหนึ่ง ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของไทย อยู่บนที่ราบสูงโคราช มีแม่น้ำโขงกั้นเขตทางตอนเหนือและตะวันออกของภาค ทางด้านใต้จรดชายแดนกัมพูชา ทางตะวันตกมีเทือกเขาเพชรบูรณ์และเทือกเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นแยกจากภาคเหนือและภาคกลาง

การเกษตรนับเป็นอาชีพหลักของภาค แต่ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้ง รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ทางด้านสังคมเศรษฐกิจ ทำให้มีผลผลิตที่น้อยกว่าภาคอื่นๆ

ภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาอีสาน แต่ภาษาไทยกลางก็นิยมใช้กันแพร่หลายโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ขณะเดียวกันยังมีภาษาเขมร ที่ใช้กันมากในบริเวณอีสานใต้ นอกจากนี้ยังมีภาษาถิ่นอื่นๆ อีกมาก เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาโส้ ภาษาไทยโคราช เป็นต้น

ภาคอีสานมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น เช่น อาหาร ภาษา ดนตรีหมอลำ และศิลปะการฟ้อนรำที่เรียกว่า เซิ้ง เป็นต้น

ภาคอีสาน มีเนื้อที่มากที่สุดของประเทศไทย ประมาณ 170,226 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ หนี่งในสาม ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทย มีเทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูหลวง และภูกระดึง เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำ เช่น ลำตะคอง แม่น้ำชี แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำมูล

ภาษาไทยถิ่นอีสาน เป็นภาษาไทยถิ่นที่ใช้พูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใกล้เคียงกับภาษาลาว ในอดีตเคยเขียนด้วยอักษรธรรมล้านช้างหรืออักษรไทยน้อย ปัจจุบันเขียนด้วยอักษรไทย มีพยัญชนะ 20 เสียง สระเดี่ยว 18 เสียง สระประสม 2-3 เสียง บางท้องถิ่นไม่มีเสียงสระเอือ


ภาษาถิ่นอีสาน หมายถึง ภาษาถิ่นที่มีคนส่วนมากใช้พูดจากันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาษาถิ่นอีสาน นอกจากจะใช้พูดจากันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว ยังมีการพูดจากันในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวอีกด้วย
ฟังไกว ลี ได้แบ่งกลุ่มภาษาตระกูลไทย ในสาขาตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งประกอบด้วยภาษาในประเทศไทย ลาว อินเดีย และเวียดนาม ภาษาตระกูลไทนั้น ใช่ว่าจะใช้เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ยังมีการใช้ภาษาตระกูลไท ในต่างประเทศอีกหลายแห่ง แต่ละแห่งก็ได้ชื่อว่า เป็นภาษาถิ่นไททั้งนั้น เมื่อประมาณ 40 กว่าปีที่แล้วมา ท่านรองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ จากมณฑลยูนานกับคณะ ได้มาเยี่ยมวิทยาลัยครูมหาสารคาม ท่านได้บรรยายต่อที่ประชุมอาจารย์ด้วยภาษาถิ่นไท มณฑลยูนนาน ท่านได้แสดงอักษรไทยยูนนาน ให้พวกเราได้ดูได้อ่าน คณะครูอาจารย์ และนักศึกษาในสมัยนั้น สามารถฟังและอ่านได้อย่างเข้าใจด้วย
ภาษาถิ่นไทยยูนนาน มีความละม้ายคล้ายเหมือนกับภาษาถิ่นอีสานมาก โดยเฉพาะคำศัพท์ต่างๆ สำหรับตัวอักษรยูนนาน ก็คือ “อักษรไทลื้อ” นั่นเอง ลักษณะของอักษรไทลื้อ มีลักษณะใกล้เคียงกับอักษรไทยล้านนา และอักษรธรรมอีสานมาก กล่าวได้ว่า ผู้ที่อ่านอักษรไทล้านนาและอ่านอักษรธรรมอีสานได้ ก็สามารถที่จะอ่านอักษรไทลื้อได้
เป็นที่น่าสังเกตว่า คนไทยส่วนมาจะสามารถเข้าใจกัน ด้วยภาษาต่างถิ่นกันได้ เพราะ
1. มีศัพท์ร่วมตระกูลกัน (Cognate) เช่น ชื่อที่เรียกเครือญาติกัน พ่อ แม่ พี่ น้อง ศัพท์เกี่ยวกับร่างกาย เช่น แขน ขา มือ ตา ปาก ศัพท์ที่เกี่ยวกับกิริยาอาการ เช่น กิน นอน ไป มา คำที่เรียกชื่อสัตว์ต่างๆ เช่น หมู หมา เป็ด ไก่ การเรียกชื่อของใช้ในบ้าน เช่น มีด พร้า คราด ไถ และคำที่เป็นจำนวนนับ เช่น หนึ่ง สอง สาม เป็นต้น

2. มีเสียงปฏิภาค (Correspondence) ของระบบเสียงพยัญชนะ และเสียงวรรณยุกต์ จะออกเสียงแตกต่างกันอย่างมีกฎเกณฑ์ และ
เงื่อนไขระหว่างภาษาถิ่นด้วยกัน เช่น ภาษาถิ่นไทยกลาง มีเสียง ช (ช้าง) แต่ภาษาถิ่นอีสาน มีเสียง ส หรือเสียง ซ แทน ช้าง ภาคกลาง จะออกเสียงเป็น ซ่าง ในภาษาถิ่นอีสาน เป็นต้น



ภาษาไทยถิ่นอีสาน เป็นภาษาท้องถิ่นที่ใช้พูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่ง ในสำเนียงภาษาถิ่นของภาษาลาวซึ่งแบ่งเป็น 6 สำเนียงใหญ่ คือ:
1.ภาษาลาวเวียงจันทน์ ใช้ในท้องที่ เวียงจันทน์ บอลิคำไซ และในประเทศไทยท้องที่ จ.ชัยภูมิ หนองบัวลำภู หนองคาย (อ.เมือง ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ โพนพิสัย) ขอนแก่น (อ.ภูเวียง ชุมแพ สีชมพู ภูผาม่าน หนองนาคำ เวียงเก่า หนองเรือบางหมู่บ้าน) ยโสธร (อ.เมือง ทรายมูล กุดชุม บางหมู่บ้าน) อุดรธานี (อ.บ้านผือ เพ็ญ บางหมู่บ้าน)
2.ภาษาลาวเหนือ ใช้กันในท้องที่ เมืองหลวงพระบาง ไซยะบูลี อุดมไซ จ.เลย อุตรดิตถ์ (อ.บ้านโคก น้ำปาด ฟากท่า) เพชรบูรณ์ (อ.หล่มสัก หล่มเก่า น้ำหนาว) ขอนแก่น (อ.ภูผาม่าน และบางหมู่บ้านของ อ.สีชมพู ชุมแพ) ชัยภูมิ (อ.คอนสาร) พิษณุโลก (อ.ชาติตระการ และนครไทยบางหมู่บ้าน) หนองคาย (อ.สังคม) อุดรธานี (อ.น้ำโสม นายูง บางหมู่บ้าน)
3.ภาษาลาวตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้กันในท้องที่เมืองเซียงขวาง หัวพัน ในประเทศไทยท้องที่บ้านเชียง อ.หนองหาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี และบางหมู่บ้าน ใน จ.สกลนคร หนองคาย และยังมีชุมชนลาวพวนในภาคเหนือบางแห่งในจังหวัด สุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ ไม่กี่หมู่บ้านเท่านั้น
4.ภาษาลาวกลาง แยกออกเป็นสำเนียงถิ่น 2 สำเนียงใหญ่ คือ ภาษาลาวกลางถิ่นคำม่วน และถิ่นสะหวันนะเขด ถิ่นคำม่วน จังหวัดที่พูดในประเทศไทย เช่น จ.นครพนม สกลนคร หนองคาย (อ.เซกา บึงโขงหลง บางหมู่บ้าน) ถิ่นสะหวันนะเขด จังหวัดที่พูดมีจังหวัดเดียว คือ จ.มุกดาหาร
5.ภาษาลาวใต้ ใช้กันในท้องที่แขวงจำปาสัก สาละวัน เซกอง อัตตะปือ จังหวัดที่พูดในประเทศไทย จ.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร
6.ภาษาลาวตะวันตก ไม่มีใช้ในประเทศลาว เป็นภาษาที่ใช้ในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ท้องที่ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม และบริเวณใกล้เคียง
มลฑลร้อยเอ็ด ของประเทศสยาม
ในอดีตเคยเขียนด้วย
อักษรธรรมล้านช้างสำหรับเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมะหรือพระพุทธศาสนา หรือเขียนด้วยอักษรไทยน้อยสำหรับเรื่องราวทางโลก ปัจจุบันเขียนด้วยอักษรไทย มีพยัญชนะ 20 เสียง สระเดี่ยว 18 เสียง สระประสม 2-3 เสียง บางท้องถิ่นไม่มีเสียงสระเอือ

บทความนี้ อาจจะอ้างอิงหลักภาษาศาสตร์จนเกินไป บางทีอาจจะทำให้เกิดความรำคาญ ผมใคร่ขอยกตัวอย่าง “หน่วยอรรถ” ภาษาถิ่นไทยกลางมายกตัวอย่าง เปรียบเทียบกับ คำภาษาถิ่นอีสาน ดังต่อไปนี้


สนุก ภาษาถิ่นอีสาน ม่วน
ดู ภาษาถิ่นอีสาน เบิ่ง , แยง

อร่อย ภาษาถิ่นอีสาน แซบ
พบ ภาษาถิ่นอีสาน พ่อ
พูด ภาษาถิ่นอีสาน เว้า
ทิ้ง ภาษาถิ่นอีสาน ป๋ะ , ป่อย
กิ้งก่า ภาษาถิ่นอีสาน กะปอม

แก้วน้ำ ภาษาถิ่นอีสาน จอก , โจก (ขนาดใหญ่)
กางเกง ภาษาถิ่นอีสาน ส่ง
โกหก ภาษาถิ่นอีสาน ตั๋ว
กลางวัน ภาษาถิ่นอีสาน กางเว็น
กลางคืน ภาษาถิ่นอีสาน กางคืน

กลับ ภาษาถิ่นอีสาน เมือ , อ่วย
ขยัน ภาษาถิ่นอีสาน ดู๋

คางคก ภาษาถิ่นอีสาน คันคาก
คิดถึง ภาษาถิ่นอีสาน คึดฮอด
คอย ภาษาถิ่นอีสาน คอง , ถ่า
ปู่ ภาษาถิ่นอีสาน พอ – ใหญ่
ยาย ภาษาถิ่นอีสาน แม่ – ใหญ่
จิ้งจก ภาษาถิ่นอีสาน ขี้ – เจี้ยม

จมูก ภาษาถิ่นอีสาน ดัง
ฉางข้าว ภาษาถิ่นอีสาน เล่า – เข่า
ชอบ ภาษาถิ่นอีสาน มัก
เดิน ภาษาถิ่นอีสาน ญาง (ญ หญิง ออกเสียงทางโพรงจมูก)
ตะกร้า ภาษาถิ่นอีสาน กะ – ต่า (ต่า ออกเสียงวรรณยุกต์ตรีเพี้ยน)
ภาษาอีสาน - แปลเป็นภาษากลาง
กะซาง - ช่างเถอะ
กินเข่าสวย - รับประทานอาหารกลางวัน

กินดอง - เลี้ยงฉลองสมรส
กะจังว่า - ก็นั่นน่ะสิ
เกี้ยงตั๊บ - หมดเกลี้ยง
กัดแข้วบืน - กัดฟันสู้
กะด้อ กะเดี้ย - อะไรกันนักหนา
เกิบ - รองเท้าแตะ

ชาวอีสานสมัยใหม่ ส่วนมากจะใช้ภาไทยกลางกันอย่างคล่องแคล่ว ปัญหาการสื่อสารด้วยภาษาไทยกลางจึงไม่ค่อยจะมี ยุคข้อมูลข่าวสารสมัยนี้ช่วยส่งเสริมให้การใช้ภาษาของคนไทยมีเอกภาพกันแทบทุกหมู่เหล่า








ที่มา


http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/ww521/khwanchai/khwanchai-web2/content/Page3.html
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99_(%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2)
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=267348
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99

http://www.youtube.com/watch?v=rjrs5xil6ZU&feature=related

http://www.youtube.com/watch?v=IhH-fDVrOcw

1 ความคิดเห็น:

โหลดแนวข้อสอบ กล่าวว่า...

แนวข้อสอบ ครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (Office of the Higher Education Commission) เปิดรับสมัครเข้าร่วมโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ปี พ.ศ.2559 จำนวน 4,079 คน วุฒิ ปริญญาตรี สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ท ตั้งแต่วันที่ 4-18 กรกฎาคม 2559
ท่านที่สนใจแนวข้อสอบ สามารถโหลดที่ http://xn--12ca0d9bi6ai1a7bh5bu.blogspot.com/

แสดงความคิดเห็น